บ้านดีมีดาวน์
มาตรการใหม่จากรัฐ โครงการ “บ้านดีมีดาวน์” เป็นอีกหนึ่งมาตราการ เพื่อช่วยภาคอสังหาในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้คึกคักขึ้น หลังจากในช่วงปี 2562 นี้นิ่งสงบมาโดยตลอด เพราะมาตรการ LTV ที่ออกมาตัดช่องทางของเหล่านักลงทุนเก็งกำไร ให้ที่อยู่อาศัยถึงมือผู้บริโภคอย่างแท้จริง มาเข้าเรื่องมาตราการบ้านดีมีดาวน์กัน ก่อนหลายๆคนอาจจะยังสงสัยว่าโครงการนี้ให้อะไร? มีเงื่อนไขอย่างไร? และเป็นใครมีคุณสมบัติยังไง? ถึงจะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ อ่านบทความนี้ก่อนไปลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จะได้ไขทุกข้อสงสัยกันไปเลย
บ้านดีมีดาวน์ คืออะไร
ในรูปแบบของ Cash Back จำนวน 50,000 บาทต่อราย ซึ่งระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 62– 31 มีนาคม 2563
เริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้ อธิบายให้ง่ายๆก็คือใครโอนบ้านตอนนี้ได้เงินคืนไปอีก 50,000 บาทนั้นเองนอกจากนี้ ยังเป็นมาตรการที่เป็นการช่วยกระตุ้นให้มีผู้ซื้ออสังหาเพิ่มขึ้นจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของมาตรการ LTV เมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา และได้แรงสนับสนุนจาก 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และสมาคมอาคารชุดไทย รวมไปถึงบางบริษัท บางผู้ประกอบการก็ร่วมจัดโปรโมชั่นช่วยรับภาระค่าโอน-จดจำนอง ในกรณีบ้านราคาเกิน 3 ล้านบาท หรือเพิ่มโปรโมชั่นเพิ่มเติมจากที่ได้จากรัฐ เพื่อระบายสินค้าที่มีอยู่ในมือให้ถึงผู้บริโภคอย่างเร็วที่สุด
ใครที่มีสิทธิ์ เข้าร่วมโครงการบ้านดีมีดาวน์?
- มีสัญชาติไทย
- มีรายชื่ออยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากรมีรายได้ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปีหรือเดือนละไม่เกิน 100,000 บาท (กู้ร่วมได้ โดยการกู้ร่วมจะดูรายได้ของผู้กู้หลักเท่านั้น)
- เป็นการยื่นกู้ใหม่ (Re-finance ไม่ร่วม)
- จะต้องเป็นการกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม “ใหม่”จาก ผู้ประกอบการเท่านั้น ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้หากซื้อบ้านหรือคอนโดมือสอง
- จะเป็นการซื้อบ้านหลังที่เท่าไหร่ก็ได้ไม่จำกัดว่าเป็นบ้านหลังแรก และไม่จำกัดเพดานราคา
- ได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย จากสถาบันการเงินและจดจำนองตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย.2562 จนถึงวันที่ 31 มี.ค.2563
- จำกัดสิทธิ์เพียง 1 แสนรายเท่านั้น
จะเข้าร่วม ”บ้านดีมีดาวน์” ต้องทำอย่างไร
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ “บ้านดีมีดาวน์มีดังต่อไปนี้
- เปิดให้ลงทะเบียนขอรับสิทธิตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2562 จนถึง 31 มีนาคม 2563 ที่ http://www.บ้านดีมีดาวน์.com/ โดยกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และยินยอมให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปตรวจสอบคุณสมบัติ (จำกัดลงทะเบียนได้ 5 แสนรายเท่านั้น)
- บุคคลที่ผ่านคุณสมบัติจะได้รับ E-mailแจ้งผลการตรวจสอบรอบแรก
- สถาบันการเงินพิจารณาคำขอกู้ และดำเนินการอนุมัติเงินกู้รวมถึงจดจำนองให้แล้วเสร็จ
- ระบบตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากสถาบันการเงิน และแจ้งผลการตรวจสอบ
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โอนเงิน 50,000 บาท เข้าบัญชี PROMPT PAY ที่ผูกกับเลขประชาชน 13 หลักของผู้กู้หลัก
ขอบคุณข้อมูลจาก facebook.com/fpo.go.th