แชร์

ย่าน NEW EBD คืออะไร? ส่องการเติบโต ย่านธุรกิจส่วนต่อขยาย

รู้จักย่าน “NEW EBD” – ความหนาแน่นของการจราจรและรถไฟฟ้า ฝั่งขาเข้าสู่ใจกลางเมืองในช่วงเช้า เป็นส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ว่า ย่าน CBD – Central Business District ของกรุงเทพฯ ชั้นใน เริ่มจะหนาแน่นมากเกินไป ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางและค่าครองชีพที่ทะยานสูงขึ้น จากราคาอสังหาฯ และค่าเช่าที่สูงขึ้น

การพัฒนาด้านคมนาคม จากเดิมที่คนในพื้นที่รอบนอก จำเป็นต้องฝากชีวิตไว้กับการจราจนทางถนน สู่การขยายตัวของเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เริ่มทยอยเปิดให้บริการไปบางส่วน ทำให้ย่าน New EBD – Extended Business District หรือพื้นที่ส่วนต่อขยายย่านธุรกิจ ซึ่งมักเป็นย่านใกล้รถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ ชั้นนอก ได้รับความนิยมมากขึ้น

โดยมีเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเป็นตัวนำ ตามมาด้วยความเจริญด้านอื่นๆ เช่น สถานที่ทำงาน (ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน) ศูนย์การค้า และที่พักอาศัยยุคใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากย่านชุมชนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ เพียบพร้อมอยู่แล้ว

EBD – สมดุลใหม่ ของการใช้ชีวิตและค่าครองชีพ

การลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและการลงทุนจากภาคธุรกิจจำนวนมาก ส่งผลให้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ความเจริญถูกกระจุกตัวอยู่ในย่านใจกลางกรุงเทพฯ จนทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ โดยคำนวนจากค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าสินค้าอุปโภคบริโภค

ซึ่งภาระค่าใช้จ่ายที่หนักที่สุด สำหรับคนชั้นกลางที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ชั้นใน ดูจะหนีไม่พ้นเรื่องค่าเช่าที่อยู่อาศัย โดยคอนโดขนาด 1 ห้องในย่านใจกลางเมือง มีค่าเช่าเฉลี่ยกว่า 21,400 บาท/เดือน

ในอดีต หลายคนยอมจ่ายให้สิ่งเหล่านี้ เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตที่เหนือกว่าของไลฟ์สไตล์ในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของการเดินทางโดยรถไฟฟ้าอันแสนสะดวกสบาย ซึ่งก่อนหน้านี้ พื้นที่ชานเมืองไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียบพร้อมในย่าน EBD เมื่อถูกเชื่อมเข้าหากันด้วยรถไฟฟ้าแล้ว ก็จะทำให้การใช้ชีวิตสะดวกขึ้น เดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งรถยนต์ส่วนตัวเสมอไป เพราะในอดีต ระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ดูจะเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ย่าน EBD ขาด

ทำเลแบบไหน จึงถือว่าเป็น EBD

ทำเลแบบไหน จึงถือว่าเป็น EBD

CBD – ย่านศูนย์กลางธุรกิจ, EBD – ส่วนต่อขยายย่านธุรกิจ

เราจะเห็นได้ว่า พื้นที่ทั้งสองรูปแบบ ล้วนเป็น “ย่านธุรกิจ” หรือพื้นที่ๆ ประกอบไปด้วย แหล่งงานจำนวนมากและศูนย์การค้า ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบการขนส่งสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร ที่พักอาศัย แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ระดับความหนาแน่น และ Timeline ในการพัฒนา

ทำเลที่มีคุณสมบัติดังกล่าว โดยส่วนมากเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ โซนนอก ที่ถูกรับเลือกให้เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ขนาดใหญ่ จากการเป็นแหล่งงานและชุมชนขนาดใหญ่ หรือตั้งอยู่บนจุดตัดของถนนสายหลักๆ เช่น

  • โซนใต้: บางนา สำโรง เทพารักษ์ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ และสีเหลือง
  • โซนเหนือ: หลักสี่ พหลโยธิน แจ้งวัฒนะ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ และสีชมพู
  • โซนตะวันออก: รามคำแหง มีนบุรี ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสีชมพู

สำโรง – เทพารักษ์: ย่าน EBD ตัวอย่าง บนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว

สำโรง – เทพารักษ์

จากย่านพักอาศัยธรรมดาๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ สู่อีกหนึ่งย่าน EBD ประจำกรุงเทพโซนใต้ ที่เริ่มต้นจากการเปิดตัวของ “ไบเทค บางนา” ศูนย์การประชุมและการแสดงสินค้าอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เมื่อปี 2540 ตามมาด้วยทางเลือกที่พักอาศัยที่หลากหลาย โดยเฉพาะคอนโดย่านสำโรง และคอนโดย่านเทพารักษ์ ศูนย์การค้าในพื้นที่ เช่น อิมพิเรียลสำโรง, บิ๊กซีสำโรง, Palm Island Mall การเปิดตัวของสถานีสำโรง

ทำให้ย่านนี้เชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS สายสุขุมวิท) ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่สำคัญที่สุด ผ่านย่านธุรกิจและย่านการค้าที่สำคัญๆ ของกรุงเทพฯ หลายแห่ง พร้อมเชื่อมการเดินทางไปยังกรุงเทพฯ โซนตะวันออก เช่น ย่านพัฒนาการ รามคำแหง บางกะปิ ลาดพร้าว ฯลฯ ผ่านรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ใครที่กำลังมองหาที่พักอาศัยในย่านนี้ โครงการที่เราอยากแนะนำคือ คอนโด Kensington Sukhumvit Thepharak ซึ่งเป็นคอนโดพร้อมอยู่ที่พึ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ พร้อมพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่หลากหลายโซน อาทิ สระว่ายน้ำขนาดใหญ่, สวนบนพื้นและสวนลอยฟ้า, ฟิตเนส และ Coworking Space บนทำเลติดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง MRT ทิพวัล 0 เมตร ซึ่งอยู่ถัดจากสถานีสำโรงอินเตอร์เชนจ์บนแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียง 1 สถานี

ด้วยค่าตัวเริ่มต้นเพียง 1.89 ล้านบาท ถือว่าคุ้มค่ามากๆ เมื่อเทียบกับโครงการอื่นบนทำเลที่ใกล้เคียงกัน เพราะเป็นโครงการติดรถไฟฟ้า เดินทางสะดวกและปลอดภัยสุดๆ ที่มีราคาไม่แพง แถมยังอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายที่สำคัญอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งการที่รถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังสร้างไม่เสร็จนั้น เท่ากับว่า เป็นโครงการที่สามารถคาดหวังการเติบโตของราคาที่ก้าวกระโดดได้

นอกจากย่านบางนา – สำโรง – เทพารักษ์แล้ว ยังมีพื้นที่ EBD ย่านธุรกิจส่วนต่อขยายที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ซึ่งแต่ละที่ล้วนอยู่บนจุดอินเตอร์เชนจ์ระหว่างรถไฟฟ้าหลายสาย เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แพ้ย่านใจกลางเมือง แต่มาพร้อมกับราคาที่พักอาศัยและค่าครองชีพโดยรวมที่ถูกกว่า

แท็กที่เกี่ยวข้อง