การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม

บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งมิติ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล เพื่อพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและส่งมอบสินค้า และบริการที่ดีและตรงกับความต้องการของลูกค้าไปพร้อมกับการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกฝ่าย

การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร และทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากกระบวนการจัดหาที่ดิน กระบวนการออกแบบโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ  รวมถึงกระบวนการบริหารโครงการนิติบุคคลที่บริษัทฯให้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าในทุกกระบวนการมีการบริหารและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยเริ่มตั้งแต่มุ่งส่งเสริมให้ความรู้ สร้างความตระหนักในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรในองค์กร ให้ความสำคัญในการดำเนินงาน การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ของเสีย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน และเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย  บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน ให้มีหน้าที่ในการดูแลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯและบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

แนวปฏิบัติการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ของเสีย และสภาพแวดล้อม

  • ดำเนินการและบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายการบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน ของเสีย การดูแลสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมกับปริมาณที่ใช้ โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 
  • กำหนดให้การบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกระดับ ที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด
  • สร้างความตระหนักรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม โดยสื่อสารให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องการดูแล รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 
  • ให้การสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนจัดสรรบุคลากร งบประมาณ เวลา การฝึกอบรม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อคิดเห็นของพนักงานที่เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านทรัพยากร พลังงาน สาธารณูปโภค รวมไปถึงการดูแลสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม
  • มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

เป้าหมายและผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

จากการดำเนินงานของบริษัทฯ ในทุกกระบวนการได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย รวมถึงแนวปฏิบัติ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินงานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งบริษัทฯได้รับความร่วมมือจากทุกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้บรรลุตามเจตจำนงค์ในเป้าหมายมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็น ศูนย์ โดยได้กำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท ดังนี้  

เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็น ศูนย์

ในการจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางบริษัทฯได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงาน เป้าหมาย ตัวชี้วัด และการประเมินความเสี่ยง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งมีการทบทวนเป้าหมายและผลการดำเนินงานในทุกปี เพื่อให้มีความเหมาะสมและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

ผลการดำเนินงานปี 2567

ตัวชี้วัด

เป้าหมายปี 2568

ผลการดำเนินงานปี 2567

การจัดการพลังงาน

(scope 1,2)

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 5  เมื่อเทียบกับปีฐาน 

เป้าหมาย : ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีฐาน

ผลการดำเนินงาน : การจัดการพลังงานลดลง 30% เนื่องจาก Origin มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการดำเนินงาน ให้โครงการต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นและ สามารถส่งมอบงานรวมถึงโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนดเวลา โดยในปี 2567  มีการดำเนินการปิดโครงการ ส่งมอบงานและจัดตั้งนิติบุคคล รวมถึง โอนกรรมสิทธิ์ให้ทางนิติบุคคลของโครงการอาคารชุดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วจำนวนหลายโครงการ  จึงส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและพลังงานต่าง ๆ ของสำนักงานขายและโครงการภายใต้การควบคุมขององค์กร ORIGIN ในรอบปี 2567 นั้นลดลง

การจัดการไฟฟ้า

ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าขององค์กรทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานขาย ร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีฐาน 

เป้าหมาย : ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีฐาน

ผลการดำเนินงาน :  ลดลง 29% 

การจัดการน้ำ

ลดปริมาณการใช้น้ำประปาขององค์กรทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานขาย ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีฐาน 

เป้าหมาย : ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีฐาน

ผลการดำเนินงาน : ลดลง 28%

การจัดการขยะ

ลดปริมาณขยะในสำนักงานใหญ่ ร้อยละ 5

ผลการดำเนินงาน : เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2566

การลดมลพิษทางอากาศ

ควบคุมคุณภาพเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างในโครงการให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน 

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและจำนวนครั้งที่ปล่อยมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน เป็นศูนย์

อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

ลดปริมาณฝุ่นในโครงการก่อสร้าง

ทุกโครงการ

ทุกโครงการ

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม 

บริษัทฯ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร และทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากกระบวนการจัดหาที่ดิน กระบวนการออกแบบโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ  รวมถึงกระบวนการบริหารโครงการนิติบุคคลที่บริษัทฯให้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าในทุกกระบวนการมีการบริหารและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยเริ่มตั้งแต่มุ่งส่งเสริมให้ความรู้ สร้างความตระหนักในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรในองค์กร ให้ความสำคัญในการดำเนินงาน การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ของเสีย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน และเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย  บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน ให้มีหน้าที่ในการดูแลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯและบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

แนวปฏิบัติการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ของเสีย และสภาพแวดล้อม

  • ดำเนินการและบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายการบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน ของเสีย การดูแลสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมกับปริมาณที่ใช้ โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 
  • กำหนดให้การบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกระดับ ที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด
  • สร้างความตระหนักรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร พลังงาน สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม โดยสื่อสารให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องการดูแล รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 
  • ให้การสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนจัดสรรบุคลากร งบประมาณ เวลา การฝึกอบรม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อคิดเห็นของพนักงานที่เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านทรัพยากร พลังงาน สาธารณูปโภค รวมไปถึงการดูแลสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม
  • มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

ปริมาณไฟฟ้า (กิโลวัตต์ kWh)

ปี 2565

ปี 2566

ปี 2567

พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด

7,628,930.78

kWh

10,276,764.06

kWh

3,027,176.13

kWh

 

ทั้งนี้บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานไฟฟ้าให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่าในทุกกระบวนการธุรกิจขององค์กร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ โดยผ่านทั้งกระบวนการให้ความรู้ ความเข้าใจ แคมเปญรณรงค์ต่าง ๆ ที่ให้พนักงานร่วมกิจกรรม รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า

ประชาสัมพันธ์สื่อออนไลน์ ออฟไลน์ รณรงค์ การประหยัดพลังงานและลดการใช้ทรัพยากรภายในสำนักงานใหญ่และสำนักงานขายให้ทราบทั่วกันอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในโครงการระหว่างการก่อสร้างได้มีการรณรงค์ให้ใช้ไฟฟ้าและพลังานอย่างประหยัด โดยมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ในจุดต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและมีวินัย 


ติดตั้งเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 

โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้เริ่มติดตั้งเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ส่วนกลางของโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ จำนวน 6 โครงการ 

อย่างไรก็ตามในปี 2568 บริษัทฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นและเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงให้ได้ร้อยละ 5 จากปริมาณการใช้ไฟทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการใช้ไฟฟ้าในสำนักงานใหญ่ และสำนักงานขาย ซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าของบริษัท ฯ โดยมีความมุ่งหวังให้ใช้พลังงานลดลง โดยการสร้างจิตสำนึก ปลูกฝังและรณรงค์ให้กับคนในองค์กรให้ช่วยกันอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงเลือกใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำมาใช้ภายในสำนักงาน และขยายผลสู่โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อการขายเพิ่มมากขึ้น

การจัดการน้ำ (GRI 303-1, GRI 303-3)

บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการน้ำ โดยการลดปริมาณการใช้น้ำต่อตารางเมตร ร้อยละ 5 ภายในปี 2567 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงานของสำนักงานใหญ่บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ และสำนักงานขายที่เปิดบริการ ในปี 2567 จำนวน 52 แห่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการใช้น้ำประปารวม 40,820.00 ลูกบาศก์เมตร

“ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ระหว่างการดำเนินการทวนสอบโดย บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”

หน่วยธุรกิจ

2567

ปริมาณการใช้น้ำ

(ลูกบาศก์เมตร/ปี)

ร้อยละ

ของการใช้น้ำทั้งหมด

สำนักงานใหญ่ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้

154

0.38%

สำนักงานขาย 52 โครงการ

40,666

99.62%

ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด

40,820

100%





ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด

ปริมาณการใช้น้ำ

(ลูกบาศก์เมตร/ปี)

ปี 2565

ปี 2566

ปี 2567

การใช้น้ำทั้งหมด

136,010

m3

141,735

m3

40,820

m3





บริษัทฯให้ความสำคัญในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในส่วนของภายในองค์กร โครงการก่อสร้าง ตลอดจน โครงการที่อยู่อาศัย โดยให้ความตระหนักและมีการประเมินความเสี่ยงในเรื่องของการใช้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของน้ำใช้ หรือการปล่อยน้ำเสียออกสู่สาธารณะ บริษัทฯได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานและมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีขาดแคลนน้ำเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานต่อไปได้

ในส่วนของภายในองค์กร บริษัทฯ ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้พนักงานมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รณรงค์ สร้างความตระหนักของพนักงานในการใช้น้ำอย่างประหยัดภายในองค์กร และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดการใช้น้ำเกินความจำเป็น เช่น แยกทิ้งเศษอาหารเพื่อป้องกันการอุดตันของท่อน้ำ รวมถึงมีการตรวจสอบการรั่วซึมของอุปกรณ์และสุขภัณฑ์ภายในสำนักงานอยู่เป็นประจำโดยช่างอาคาร โดยมีบุคลากร หน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงช่องทางในการแจ้งเหตุหากพบการรั่วซึมของน้ำเพื่อให้มีการประสานงานแก้ไขจัดการอย่างทันท่วงที

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคำนึงถึงปริมาณ และผลกระทบที่มีต่อชุมชน โดยลดปริมาณการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในโครงการที่มีผู้พักอาศัย บริษัทฯจะทำการการติดตั้งสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ หรือมีอุปกรณ์ควบคุมการเปิด ปิดน้ำอัตโนมัติให้แก่สุขภัณฑ์ภายในโครงการ เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ชุดสุขภัณฑ์สำหรับอ่างล้างหน้า ล้างมือประหยัดน้ำประเภท Wash Basin Faucets 4.8L เป็นสุขภัณฑ์ที่ใช้น้ำเพียงแค่ 4.8ลิตร/นาที ในขณะที่สุขภัณฑ์น้ำทั่วไปจะใช้น้ำ 6ลิตร/นาที ซึ่งสามารถประหยัดน้ำได้มากกว่าสุขภัณฑ์ทั่วไปถึง 1.2 ลิตร/นาที หรือคิดเป็น 20% อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถควบคุมการปนเปื้อนจากสารพิษโลหะหนัก (ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง สังกะสี) ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสุขภัณฑ์ประเภทนี้ช่วยบริหารจัดการเรื่องการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการนำไปใช้ในทุกโครงการก่อสร้างในปี 2567 และสำหรับการจัดการน้ำในโครงการระหว่างการก่อสร้าง ก็ได้มีมาตรการการจัดการน้ำในโครงการเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน เพื่อเป็นการลดปัญหาในเรื่องของการปล่อยน้ำเสียออกสู่ชุมชน และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการน้ำใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการน้ำ โดยการลดปริมาณการใช้น้ำต่อตารางเมตร ร้อยละ 5 ภายในปี 2566 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงานของสำนักงานใหญ่บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ และสำนักงานขายที่เปิดบริการ ในปี 2566 จำนวน 40 แห่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการใช้น้ำประปารวม 141,735 ลูกบาศก์เมตร

“ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ระหว่างการดำเนินการทวนสอบโดย บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”

หน่วยธุรกิจ2566
ปริมาณการใช้น้ำ
(ลูกบาศก์เมตร/ปี)
ร้อยละ
ของการใช้น้ำทั้งหมด
สำนักงานใหญ่ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้1540.11%
สำนักงานขาย 40 โครงการ141,58199.89%
ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด141,735100%
ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดปริมาณการใช้น้ำ
(ลูกบาศก์เมตร/ปี)
ปี 2564ปี 2565ปี 2566
การใช้น้ำทั้งหมด192,672.54
m3
136,010
m3
141,735
m3

บริษัทฯให้ความสำคัญในการจัดการน้ำ ให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีการรณรงค์ สร้างความตระหนักของพนักงานในการใช้น้ำอย่างประหยัดภายในองค์กร และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดการใช้น้ำเกินความจำเป็น รวมถึงมีการตรวจสอบการรั่วซึมของอุปกรณ์และสุขภัณฑ์ภายในสำนักงานอยู่เป็นประจำโดยช่างอาคาร และช่องทางในการแจ้งเหตุหากพบการรั่วซึมของน้ำเพื่อมีการแก้ไขจัดการอย่างทันท่วงที

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคำนึงถึงปริมาณ และผลกระทบที่มีต่อชุมชน โดยลดปริมาณการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในโครงการที่มีผู้พักอาศัย บริษัทฯจะทำการการติดตั้งสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ หรือมีอุปกรณ์ควบคุมการเปิด ปิดน้ำอัตโนมัติให้แก่สุขภัณฑ์ภายในโครงการ เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ชุดสุขภัณฑ์สำหรับอ่างล้างหน้า ล้างมือประหยัดน้ำประเภท Wash Basin Faucets 4.8L เป็นสุขภัณฑ์ที่ใช้น้ำเพียงแค่ 4.8ลิตร/นาที ในขณะที่สุขภัณฑ์น้ำทั่วไปจะใช้น้ำ 6ลิตร/นาที ซึ่งสามารถประหยัดน้ำได้มากกว่าสุขภัณฑ์ทั่วไปถึง 1.2 ลิตร/นาที หรือคิดเป็น 20% อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถควบคุมการปนเปื้อนจากสารพิษโลหะหนัก (ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง สังกะสี) ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสุขภัณฑ์ประเภทนี้ช่วยบริหารจัดการเรื่องการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการนำไปใช้ในทุกโครงการก่อสร้างในปี 2566

การจัดการน้ำในโครงการก่อสร้าง

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำในโครงการก่อสร้างในทุกกระบวนการเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยได้มีการกำหนดนโยบายให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง และนิติบุคคลต้องจัดระบบจัดการบำบัดน้ำเสีย ควบคุมและตรวจคุณภาพก่อนปล่อยสู่สาธารณะตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีหลักการดำเนินงาน ดังนี้

1.จัดทำระบบระบายน้ำและระบบบำบัดชั่วคราวในโครงการ ก่อนปล่อยน้ำออกสู่รางส่งน้ำสาธารณะ น้ำที่มีการใช้ในโครงการจะต้องมีการผ่านระบบบำบัดชั่วคราวของโครงการ ประกอบไปด้วยบ่อตะกอน บ่อดักขยะ บ่อพักน้ำ รางระบายน้ำชั่วคราว และการขุดลอกท่อสาธารณะ โดยได้มีการนำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ เข้ามาใช้ ที่สามารถช่วยลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ถึงร้อยละ 80-95 โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อ ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ เพื่อบำบัดน้ำไม่ให้กระทบกับคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำบริเวณใกล้กับโครงการและมีการบำบัดที่ดีก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกให้ได้มากที่สุด

2.จัดทำระบบสุขาภิบาลภายในโครงการอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีการจัดทำห้องน้ำให้เพียงพอต่อจำนวนของคนงาน แยกชายหญิง พร้อมทั้งจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย เติมจุลินทรีย์ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ และจัดให้มีถังดักไขมันและทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ เพื่อสุขอนามัยที่ดี

3.การตรวจสอบคุณภาพน้ำภายในโครงการก่อนปล่อยออกสู่ท่อสาธารณะ จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำในทุกเดือนๆละครั้ง โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโครงการก่อสร้างจะต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เช่น ค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ปริมาณของแข็งแขวนลอย (SS) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ พบว่า ผ่านเกณฑ์ทุกโครงการตามมาตรฐานของกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

4.การรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดภายในโครงการ ในโครงการก่อสร้างมีการรณรงค์ให้ทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

5.การ Reuse น้ำในบ่อพักกลับมาใช้ใหม่ โดยทุกโครงการก่อสร้างของบริษัทฯ จะมีกระบวนการนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดอย่างถูกวิธี นำกลับมาใช้ภายในโครงการใหม่ อาทิเช่น การนำน้ำจากบ่อบำบัดนำไปรดต้นไม้ ล้างพื้นถนนสาธารณะ ฉีดทำความสะอาดล้างล้อรถก่อนออกนอกโครงการ ฉีดพรมน้ำเพื่อป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจายภายในพื้นที่โครงการ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำ และยังเป็นการลดการระบายน้ำจากโครงการสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ หรือในส่วนของตะกอนที่เกิดขึ้นในบ่อพักน้ำจะมีการนำไปปรับพื้นที่ในโครงการ บริษัทฯยังได้เริ่มมีการเก็บวัดผลปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ในโครงการต้นแบบ คือ โครงการ ออริจิ้น เพลย์ ศรีอุดม สเตชั่น ในการนำน้ำจากบ่อพักน้ำที่มีการบำบัดแล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในโครงการ ซึ่งจากการเก็บปริมาณน้ำ พบว่าสามารถลดการใช้น้ำได้เฉลี่ย 120–160 หน่วย/เดือน คิดเป็นร้อยละ 10 ของการใช้น้ำทั้งหมดในโครงการ ทางบริษัทฯจึงได้ตั้งเป้าหมายให้ร้อยละ 70 ของโครงการที่มีการก่อสร้างในปี 2567 มีการบริหารจัดการน้ำ นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาหมุนเวียนใช้ภายในโครงการระหว่างการก่อสร้างให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 จากการใช้น้ำทั้งหมดในโครงการ รวมถึงในโครงการอยู่อาศัยที่สร้างเสร็จในปี มีการจัดการกระบวนการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ในโครงการ โดยมีเป้าหมายในโครงการนำร่องให้ได้ 2 โครงการภายในปี

การจัดการน้ำในโครงการก่อสร้าง

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำในโครงการก่อสร้างในทุกกระบวนการเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยได้มีการกำหนดนโยบายให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง และนิติบุคคลต้องจัดระบบจัดการบำบัดน้ำเสีย ควบคุมและตรวจคุณภาพก่อนปล่อยสู่สาธารณะตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีหลักการดำเนินงาน ดังนี้

1.จัดทำระบบระบายน้ำและระบบบำบัดชั่วคราวในโครงการ ก่อนปล่อยน้ำออกสู่รางส่งน้ำสาธารณะ น้ำที่มีการใช้ในโครงการจะต้องมีการผ่านระบบบำบัดชั่วคราวของโครงการ ประกอบไปด้วยบ่อตะกอน บ่อดักขยะ บ่อพักน้ำ รางระบายน้ำชั่วคราว และการขุดลอกท่อสาธารณะ โดยได้มีการนำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ เข้ามาใช้ ที่สามารถช่วยลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ถึงร้อยละ 80-95 โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อ ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ เพื่อบำบัดน้ำไม่ให้กระทบกับคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำบริเวณใกล้กับโครงการและมีการบำบัดที่ดีก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้ง จัดเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด,ขุดรอกราง,ท่อ,บ่อและระบบระบายน้ำภายใน/ภายนอกโครงการสม่ำเสมอ

2.จัดทำระบบสุขาภิบาลภายในโครงการอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีการจัดทำห้องน้ำให้เพียงพอต่อจำนวนของคนงาน แยกชายหญิง พร้อมทั้งจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย เติมจุลินทรีย์ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ และจัดให้มีถังดักไขมันและทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ เพื่อสุขอนามัยที่ดี

3.การตรวจสอบคุณภาพน้ำภายในโครงการก่อนปล่อยออกสู่ท่อสาธารณะ จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำในทุกเดือนๆละครั้ง โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโครงการก่อสร้างจะต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เช่น ค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ปริมาณของแข็งแขวนลอย (SS) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ พบว่า ผ่านเกณฑ์ทุกโครงการตามมาตรฐานของกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

4.การรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดภายในโครงการ ในโครงการก่อสร้างมีการรณรงค์ให้ทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า พร้อมทั้งมีการจัดถังน้ำสำรองในการใช้น้ำทั้งเพื่อบริโภคและอุปโภคอย่างเพียงพอ ป้องกันกรณีแรงดันน้ำไม่พอ หรือขาดน้ำในกรณีฉุกเฉิน 

5.การ Reuse น้ำในบ่อพักกลับมาใช้ใหม่ โดยทุกโครงการก่อสร้างของบริษัทฯ จะมีกระบวนการนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดอย่างถูกวิธี นำกลับมาใช้ภายในโครงการใหม่ อาทิเช่น การนำน้ำจากบ่อบำบัดนำไปรดต้นไม้ ล้างพื้นถนนสาธารณะ ฉีดทำความสะอาดล้างล้อรถก่อนออกนอกโครงการ ฉีดพรมน้ำเพื่อป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจายภายในพื้นที่โครงการ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำ และยังเป็นการลดการระบายน้ำจากโครงการสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ หรือในส่วนของตะกอนที่เกิดขึ้นในบ่อพักน้ำจะมีการนำไปปรับพื้นที่ในโครงการ 

การจัดการขยะภายในสำนักงาน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะ ลดการเกิดขยะภายในสำนักงาน ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกและสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานในองค์กรและผู้เกี่ยวข้อง โดยมีการตั้งจุดคัดแยกขยะตามประเภท และส่งต่อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ไปจัดการอย่างถูกวิธี 

นอกจากนี้บริษัทฯยังได้มีการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆเพื่อสร้างจิตสำนึก รณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงการแยกขยะ ลดการใช้พลาสติก อาทิ ขวดน้ำดื่ม ถุงพลาสติกเพื่อลดปริมาณขยะ รวมถึงส่งต่อสิ่งของต่าง ๆที่ไม่ใช้ไปยังกลุ่มคนที่ขาดแคลนเพื่อช่วยเหลือสังคมและยังเป็นการลดจำนวนขยะได้อีกด้วย

รวมถึงให้พนักงานได้มีการแชร์ไอเดียในการลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร เพื่อเป็นการช่วยลดขยะและจัดการขยะสิ้นเปลือง โดยการนำเสนอวิธีการต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติใช้จริง อาทิเช่น ลดการใช้กระดาษถ่ายเอกสาร ให้ใช้กระดาษ 2 หน้า , ลดการเสิร์ฟน้ำขวดพลาสติก รณรงค์การพกแก้วน้ำมาใช้ที่สำนักงาน เป็นต้น

Origin Give แยกขยะให้โลกน่าอยู่  

การแยกขยะในสำนักงาน ลดการตั้งถังขยะตามโต๊ะทำงาน เพื่อนำมาทิ้งที่จุดเดียว พร้อมมีการแยกถังขยะที่ชัดเจน เพื่อลดการทิ้งรวมและทำให้การจัดเก็บรวบรวมขยะไปทิ้งสามารถทำได้ง่ายขึ้นและประหยัดเวลา รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์การแยะขยะอย่างถูกวิธี ประเภทของขยะเพื่อเป็นการให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งในปี 2567 บริษัทมีการเก็บข้อมูลการเกิดขยะคิดเทียบเป็นอัตราที่เกิดขึ้น/คน ที่อยู่ภายในสำนักงานใหญ่ โดยตรวจวัดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นภายในสำนักงานใหญ่ พบว่า มีขยะรวม 22,863.5 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 9.5% (เทียบจากอัตราเฉลี่ยการเกิดขยะ / คน ของบริษัทฯ)  ซึ่งสูงขึ้นจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขยะที่พบมากจะเป็นขยะเศษอาหาร พลาสติก ขวดน้ำและกระดาษ ทางบริษัทฯ จึงได้มีกิจกรรมรณรงค์ลดการเกิดขยะต่างๆ เพื่อให้พนักงานทราบและตระหนักถึงการช่วยลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง การรับบริจาคขวดน้ำ ฝาขวดน้ำ เพื่อส่งต่อนำไปรีไซเคิล , รวมถึงการรณรงค์ในเรื่องของการใช้กระดาษ 2 หน้า เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น  โดยบริษัทฯ ยังคงมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนปริมาณขยะ ในอัตราที่เกิดขึ้นต่อคน ภายในสำนักงานลงให้ได้ร้อยละ 5 ภายในปี 2568 จากปีฐาน (2566)

ปริมาณขยะ

ปี 2565 

ปี 2566 

ปี 2567 

ขยะรวม (kg.)

31,623.12

24,685.56

22,863.5

อัตราเฉลี่ยการเกิดขยะ / คน

(Back office)

45.18

(ประมาณ 700 คน)

37.97

(ประมาณ 650 คน)

41.57

(ประมาณ 550 คน)

*คำนวณค่าจากการประเมินการเกิดขยะอัตราเฉลี่ยการเกิดขยะของบริษัทฯ ต่อคน 

กิจกรรม Origin Green Day…Green Market 

Green market ตลาดนัดชาวออริจิ้น เปิดโอกาสให้พนักงานได้มาแบ่งปัน หรือแนะนำธุรกิจเสริมของตนเองหรือครอบครัวเพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยภายในงานจะงดใช้ถุงพลาสติก หรือใช้ให้น้อยที่สุด รวมถึงร้านค้าที่นำสินค้ามาขาย ภาชนะที่ใส่ หรือบรรจุภัณฑ์ เน้นให้เป็นวัสดุธรรมชาติหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้พนักงานใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก รวมถึงมีจุดตั้งแยกขยะภายในงานเพื่อให้พนักงานแยกขยะอย่างถูกวิธี รวมถึงการนำเสื้อผ้า หรือของใช้มือสองที่ยังสภาพดีนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันละกัน แทนการนำไปทิ้งเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สิ่งของและลดขยะสิ้นเปลือง ร่วมส่งต่อของที่ไม่ใช้แล้วให้กับผู้ที่ต้องการหรือขาดแคลน ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มี พนักงานสนใจนำของมาขายมากกว่า 20 ร้านค้าต่อครั้ง และผู้ร่วมงานมากกว่า 150 คน 

โครงการหมุนเวียนเฟอร์นิเจอร์สำนักงานขาย

ออกนโยบายหมุนเวียนเฟอร์นิเจอร์ระหว่างสำนักงานขาย จากสำนักงานขายที่กำลังจะรื้อถอนย้ายไปสำนักงานขายใหม่ หรือวัสดุ เฟอร์นิเจอร์จากห้องตัวอย่าง เพื่อเป็นการลดขยะและค่าใช้จ่าย รวมถึงมีการวางแผนงาน การใช้สำนักงานขายร่วมกันในโครงการที่อยู่ใกล้กัน โดยการออกแบบที่ให้ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและการสิ้นเปลืองในเรื่องของการจัดหาวัสดุ 

นอกจากบริษัทฯให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการขยะภายในสำนักงานแล้ว โครงการที่อยู่อาศัยที่ส่งมอบต่อให้ลูกค้า ทางบริษัทฯ ยังจัดให้มีถังขยะแยกตามประเภทขยะในทุกโครงการที่อยู่อาศัยและเพียงพอต่อการใช้งานจัดอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม และอากาศถ่ายเท พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการแยกขยะก่อนทิ้ง โดยในปี 2567 ทางบริษัทฯมีการจัดทำโครงการแยกขยะให้กับลูกบ้านโครงการร่วมกับทางนิติบุคคลเพื่อเป็นการปลูกฝังในเรื่องของการแยกขยะ ลดปริมาณขยะ และสร้างความตระหนักในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยให้โครงการน่าอยู่มากขึ้น

รวมถึงยังต่อยอดไปยังการจัดกิจกรรมต่าง ๆเพื่อลูกบ้าน ทางออริจิ้นเองยังให้ความสำคัญในเรื่องของ zero waste รักษ์โลก ผ่านทุกกระบวนการของการจัดงานและสิ่งของที่ใช้ภายในงาน

การบริหารจัดการของเสียและมลพิษในโครงการก่อสร้าง (GRI 306-1, GRI 306-2)

บริษัทฯ มีการจัดการขยะและของเสียในกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบตามหลักการ 3R (Reduce Reuse Recycle) และมีระบบการคัดแยกขยะตามประเภทที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีมาตรการและแนวปฏิบัติในทุกโครงการก่อสร้าง ดังนี้

1.มีการประกาศมาตรการ แนวทางการจัดการขยะภายในโครงการให้กับผู้รับเหมา และมีการติดตามผลในการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้หน่วยงานความปลอดภัยสุ่มตรวจเช็คการปฏิบัติตามมาตรการที่บริษัทฯ กำหนดอย่างสม่ำเสมอ

2.มีการกำหนดจุดติดตั้ง จุดรวบรวมขยะและเศษวัสดุก่อสร้างในโครงการอย่างชัดเจน เป็นระเบียบ มีฝาปิดมิดชิดในพื้นที่ที่เหมาะสม และมีการคัดแยกขยะตามประเภทวัสดุ และนำไปรีไซเคิล เพื่อลดของเสียในโครงการ 

3.จัดทำจุดรวบรวมขยะบนอาคารทุกชั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการคัดแยกและขนย้าย

4.จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะภายในโครงการและจัดให้มีการอบรมเรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและขยะก่อสร้าง บริหารเวลาในการจัดเก็บ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ

5.ร่วมมือกับผู้รับเหมานำแนวคิดในการใช้ชิ้นส่วนวัสดุสำเร็จรูป และนำชิ้นส่วนที่ประกอบสำเร็จจากโรงงานผู้ผลิตนำมาใช้ในโครงการ ตัวอย่างเช่น ราวระเบียงเหล็กสำเร็จรูป ซึ่งสามารถช่วยลดเวลา การตัดเจียร์ การเชื่อมเหล็ก ฝุ่น รวมถึงการลดขยะที่จะเกิดขึ้นได้ และในส่วนขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จะให้งผู้รับเหมาบริหารจัดการ กำจัดหรือ นำออกจากพื้นที่ทั้งหมดเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ

6.จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานจัดเก็บขยะมูลฝอยตกค้างทุกวัน

7.การจัดการขยะภายในบ้านคนงาน ให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการคัดแยกและความสะอาดบริเวณรอบ ๆบ้านพัก

8.มีการจัดทำตารางปริมาณขยะ และติดตามผลในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 

9.การจัดการของเสียจากงานก่อสร้าง เช่น เศษเหล็ก เศษไม้ เศษปูนที่เหลือจากงานก่อสร้างบางส่วนนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ นำมาทำเป็นโต๊ะรับประทานอาหารที่ใช้ภายในโครงการก่อสร้าง หรือทำกระถางต้นไม้จากขวดเหลือใช้นำมาตกแต่งภายในโครงการก่อสร้าง การนำคอนกรีตที่เหลือใช้เปลี่ยนเป็นสิ่งของ เช่น ทำขอบกั้นทางเท้า ขอบกั้นที่จอดรถในโครงการ ทำลูกปูนแปลงเกษตร ทำม้านั่งส่งต่อให้กับชุมชนและโรงเรียนในระยะใกล้เคียงโครงการ ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ดังกล่าว ผ่านโครงการ CSR พัฒนาโรงเรียน ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกับทางผู้รับเหมา ในการช่วยเหลือสังคม โดยในปีที่ผ่านมาได้ส่งต่อให้กับ 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด จ.ระยอง มอบเก้าอี้ จำนวน 10  ชุด โรงเรียนวัดราษฎร์โพธิ์ทอง จ.สมุทรปราการ  มอบชุดโต๊ะ เก้าอี้ , และแปลงผักเพื่อการเกษตรให้กับนักเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใกล้เคียงโครงการของทางบริษัทฯ ที่ได้มีการก่อสร้างอยู่

โครงการนำเศษปูนไปทำแปลงผักเพื่อการเกษตร 

ทางบริษัทฯได้มีโครงการร่วมกับทางผู้รับเหมาะ นำเศษปูนที่เหลือจากการก่อสร้าง ทำโต๊ะเก้าอี้ ใช้ในโครงการและส่งมอบให้กับโรงเรียน รวมถึงน้ำไปหล่อเป็นแท่งเพื่อนำไปทำขอบกั้นแปลงผักเพื่อการเกษตรให้กับโรงเรียนเพื่อเป็นอีกหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนในเรื่องของการเกษตร ซึ่งจากการดำเนินงานในปี ได้ลดเศษปูนที่เหลือใช้นำไปทำให้เกิดประโยชน์ รวมจำนวน 1.5 คิว ส่งมอบแปลงผักเพื่อการเรียนรู้ให้กับนักเรียน จำนวน  5 แปลง ๆละ 60  ก้อน (โรงเรียนวัดราษฎร์โพธิ์ทอง จ.สมุทรปราการ) สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 420 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  

โครงการขยะแลกไข่

เพื่อเป็นการรณรงค์ให้แรงงานมีการแยกขยะอย่างถูกวิธี โดยการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ นำขยะมาแลกของกินของใช้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาค่าใช้จ่าย รวมถึงช่วยในเรื่องของการจัดการขยะ ทิ้งอย่างถูกวิธี

รวมถึงในปีนี้ทางบริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Circular Economy in Construction Industry – CECI)  การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ในโครงการก่อสร้าง แนวคิดที่สนับสนุนในการใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนให้สิ่งของที่เราใช้สามารถคืนสู่สภาพเดิมหรือพร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลดการเกิดของเสีย สนับสนุนการจัดการขยะ และนำทรัพยากรมาหมุนเวียนใช้ซ้ำ หรือนำวัสดุที่ผ่านการผลิตซ้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยในปี 2567 มีเป้าหมายในเรื่องของการจัดการขยะในโครงการก่อสร้างให้เกิดขยะน้อยที่สุด ให้เกิดการหมุนเวียนใช้ซ้ำให้มากที่สุด หรือเพื่อนำมารีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ ส่งผ่านให้แก่ชุมชนและสังคมผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนำมาใช้ในโครงการระหว่างการก่อสร้าง

ริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก โดยพบว่ากิจกรรมของการดำเนินธุรกิจที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ การใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากยานพาหนะ ซึ่งบริษัทฯ ได้กำหนดขอบเขตการใช้ทรัพยากร พลังงาน ที่สร้างปฏิกิริยาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามรายละเอียด ดังนี้

ก๊าซเรือนกระจกทางตรง ขอบเขตที่ 1 เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีการเผาไหม้เคลื่อนที่ โดยคำนวณจากการใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ที่มาจากปริมาณการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในยานพาหนะที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ จำนวน 8 คัน และการเบิกค่าเดินทางของพนักงานที่มีการใช้รถยนต์ส่วนตัวและนำค่าใช้จ่ายมาเบิกค่าเดินทางกับทางองค์กร  รวมถึงสารทำความเย็น ถังดับเพลิงที่ติดตั้งในสำนักงานตามจุดต่าง ๆ

ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ขอบเขตที่ 2 เป็นก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากไฟฟ้าจากภายนอกเข้ามาใช้ภายในบริษัทฯ โดยคำนวณจากปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ และสำนักงานขายที่เปิดบริการในปี 2567 จำนวน 52 แห่ง 

ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ขอบเขตที่ 3 องค์กรได้มีการพิจารณาประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรทางอ้อมอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมขององค์กร ได้แก่ การซื้อวัตถุดิบและบริการเข้ามาใช้ภายในองค์กร, การได้มาซึ่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่ใช้ในองค์กร, การขนส่งวัตถุดิบเข้ามาในองค์กร, การจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในองค์กร, การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร ได้แก่ การเดินทางโดยเครื่องบิน การเดินทางโดยรถสาธารณะ รวมไปจนถึงการเดินทางของพนักงาน และการใช้ไฟฟ้าของผู้เช่าสำนักงานแบริ่ง และ หลังจากนั้นได้ทำการประเมินแหล่งปล่อยที่มีนัยสำคัญเพื่อนำมารายงานสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ซึ่งหมวดหมู่ที่มีนัยสำคัญขององค์กร คือ กิจกรรมการซื้อวัตถุดิบและบริการเข้ามาใช้ภายในองค์กร ประกอบไปด้วย การใช้น้ำประปาและกระดาษ ภายในบมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ รวมไปถึงวัสดุก่อสร้างในโครงการที่สร้างแล้วเสร็จในปี จำนวน 5 แห่ง ตลอดทั้งปี 2567

ในปี 2567 บริษัทฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง 154 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ร้อยละ 0.99 และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม 15,414 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ร้อยละ 99.01 รวม 15,568 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยผู้ทวนสอบ คือ บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด 

ก๊าซเรือนกระจกทางตรง 

ขอบเขต 1

ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม 

ขอบเขต 2

ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ขอบเขต 3

154

1,514

13,900

รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  =  15,568 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

 

“ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ระหว่างการดำเนินการทวนสอบโดย บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”

โดยในปี 2568  บริษัทฯ ได้มีนโยบายและแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ขอบเขต ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดน้อยลงที่สุด ร้อยละ 5 จากปีฐาน

โครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  

ติดตั้ง EV charger  100% ภายในส่วนกลางของโครงการคอนโดมิเนียม โดยในปี 2567 ได้ติดตั้งเพิ่ม 9 โครงการ รวม 51 เครื่อง  เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกบ้าน อีกทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง หันมาใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่บริษัทฯ ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานขององค์กร รวมถึงให้ความสำคัญกับการเลือกใช้คู่ค้า ผู้รับเหมาที่ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ทำการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่ให้การรับรอง หรือมีฉลากที่ให้การรับรองว่าเป็นสินค้าบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานใช้ในโครงการ 

ตัวอย่างวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในปี 2567

  1. กระเบื้องเซรามิก 

นำมาใช้ทำพื้นห้องน้ำภายในโครงการ ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และยืดอายุการใช้งาน (Circularity) โดย ลดการใช้น้ำ

ในกระบวนการผลิต อย่างน้อยร้อยละ 25 ส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี (Well-Being) โดย ปราศจากสารอินทรีย์ระเหย (VOC)

  1. insee wall 

เบากว่าอิฐมอญถึง 2 เท่า ช่วยให้ประหยัดโครงสร้างลงได้ กันเสียงได้ดี มีความแข็งแรง เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐ

มอญ 6 เท่า คอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศอบไอน้ำ ชั้นคุณภาพ 4 ชนิด 0.7 จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้คือ ทําจากวัสดุรีไซเคิล และปราศจากสารพิษ 

  1. สีทาภายในและภายนอกอาคาร 

สีที่ใช้ถูกออกแบบมาให้รองรับ ผ่านการคิดค้นนวัตกรรมและผลิตด้วย “มาตรฐานคุณภาพระดับโลก” ทุกผลิตภัณฑ์สีทาอาคารที่เลือกใช้จะได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และมาตรฐาน WELL ซึ่งเป็นการรับรองการออกแบบเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งสุขภาพกายและใจ ได้รับตรารับรอง “ฉลากเขียว” จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อได้ว่าได้ใช้สีที่ทางบริษัทฯใช้ทาโครงการที่อยู่อาศัย จะปลอดภัยไร้สารพิษ ฟอร์มัลดีไฮด์ ตะกั่ว ปรอท รวมถึงผ่านการรับรอง “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” (CARBON FOOTPRINT OF PRODUCTS : CFP) ซึ่งเป็นฉลากที่แสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ช่วยให้โครงการบริหารการจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และสีทาภายนอก ยังให้ความสำคัญคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง” ซึ่งเป็นฉลากที่รับรองว่าสีทาผนังอาคารนั้นๆ มีค่าการสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์สูงถึง 99.5% และระบายความร้อนสูงถึง 90% ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น ลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ถึง 7 องศาเซลเซียส* และช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 36.8%

ซึ่งในปี 2567 ทางบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการสั่งซื้อสินค้าและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยได้ทำนโยบายร่วมกับคู่ค้าและผู้รับเหมาในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นฉลากเขียว หรือได้รับการรับรองคุณภาพว่าไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้ทางบริษัทฯ มีการสั่งซื้อวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประมาณ ร้อยละ 10 ของการใช้วัสดุทั้งหมด

อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้กำหนดแผนงานเพื่อเลือกใช้วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยใน ปี 2568  ยังคงกำหนดให้มีการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวัสดุที่เลือกใช้ทั้งหมด

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองจากการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด โดยออกมาตรการการจัดการฝุ่นละอองภายในโครงการเพื่อให้ผู้รับเหมารับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้มีการใช้เครื่องมือที่ได้มาตราฐานตรวจวัด จดบันทึก รวมถึงจัดทำรายงานทุกเดือน อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งมีการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองภายในโครงการและพื้นที่ข้างเคียงโดยรวบรวม และรายงานผลต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตามกรอบเวลาที่กำหนด แสดงเปิดเผยหน้าโครงการระหว่างก่อสร้างอย่างชัดเจน โดยมีการ พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ 

ในระหว่างปี บริษัทฯ ได้ทำการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสำนักงานและรอบสถานประกอบการเดือนละ 1 ครั้ง พบว่า ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ กลิ่น เสียง อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่กฎหมายกำหนด และ ไม่พบกรณีสารเคมีรั่วไหลจากการก่อสร้าง โดยได้มีแนวปฎิบัติภายในโครงการ ดังนี้

1.การจัดทำสเปรย์ละอองน้ำรอบโครงการ  รวมถึงรั้วรอบโครงการ เพื่อช่วยลดปัญหาในเรื่องของฝุ่นละอองไม่ให้กระจายและส่งผลเสียต่อชุมชนรอบด้าน และเพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด  

2.ฉีดล้างทางเข้า-ออก และพรมน้ำพื้นที่ภายในโครงการเพื่อลดฝุ่นเป็นประจำทุกวัน พร้อมทั้งปิดคลุมกองวัสดุและรถบรรทุกวัสดุเข้า-ออกโครงการทุกครั้ง เพื่อป้องกันละอองฝุ่นฟุ้งระหว่างการขนย้าย และจัดทำที่ล้างอุปกรณ์ล้างล้อรถบรรทุก,พื้นอาคาร,รอบอาคารและพื้นที่หน้าโครงการตลอดเวลา 

3. ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์วัดค่าฝุ่นละอองภายใน/ภายนอกโครงการ พร้อมทั้งมีการตรวจสภาพเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานเพื่อไม่เกิดควันที่เป็นพิษออกสู่อากาศ มีการตรวจวัดค่าควันดำ และตรวจวัดคุณภาพอากาศในทุกเดือน มีการติดตามตรวจสอบมาตรการดำเนินงานป้องกันแก้ไขผลกระทบด้านคุณภาพอากาศเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานจากประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด โดยตรวจวัดฝุ่นละอองรวม (TSP), ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน(PM-10), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (THC), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

การบันทึกรายงานการวัดปริมาณก๊าซภายในโครงการและพื้นที่ข้างเคียง

บริษัท ฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ และสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบข้อมูลคุณภาพอากาศบริเวณโครงการ ได้แก่ ค่าฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) กรณีมีแนวโน้ม ค่าความเข้มข้นเกินค่ามาตรฐานที่ 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์ เมตร อยู่ในระดับที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ บริษัทฯ จะเข้าควบคุมเฝ้า ระวัง ทันทีได้แก่ งานที่ใช้เครื่องจักรและยานพาหนะ ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลงานขนส่งวัสดุก่อสร้าง เข้าสู่พื้นที่โครงการ งานตัด เจาะ เจียร์ขัดแต่ง ผิวคอนกรีต หรือที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองเพื่อไม่ให้เกินค่ามาตรฐานตามกฎหมายกำหนด ซึ่งในปีที่ผ่านมาไม่พบว่ามีการปล่อยมลพิษเกินค่าที่กำหนด และบริษัทฯ ยังคงได้มีการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ  ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและจำนวนครั้งที่ปล่อยมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน เป็นศูนย์ ในปีต่อไป เพื่อเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นและไม่ปล่อยของเสียออกสู่ภายนอก

มาตรการป้องกันผลกระทบกับชุมชน บ้านข้างเคียง อันเกิดจากการก่อสร้าง 

การจัดการทางด้านเสียง

จัดหาเครื่องมือ/เครื่องจักรที่ได้มาตรฐานและจัดทำอุปกรณ์เพื่อลดต้นกำเนิดเสียง จัดเจ้าหน้าที่ตรวจตรา/ควบคุมการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดเสียงดังอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ควบคุมเวลาทำงานและกำหนดมาตรการขนส่งวัสดุให้ชัดเจนเพื่อลดผลกระทบต่อการพักอาศัย ติดตั้งเครื่องมือ/อุปกรณ์วัดค่าเสียงภายใน,ภายนอกโครงการควบคุมให้อยู่ในระดับมาตรฐานกำหนด

การพลัดตกและวัสดุตกกระเด็น

ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันละอองคอนกรีตและสีตกกระเซ็นส่งผลกระทบบ้านข้างเคียงโครงการ ตรวจสอบอุปกรณ์การยก/ขนย้ายวัสดุต่าง ๆ เป็นประจำอยู่เสมอ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่มีความชำนาญปฏิบัติงานควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์การยกย้ายวัสดุตลอดเวลา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมมีเจ้าหน้าที่ติดตามแก้ไขผลกระทบจากการทำงานและข้อร้องเรียนโดยทันทีทุกครั้งอย่างเป็นระบบ มีการสอบถามข้อห่วงกังวล/สำรวจความเสียหายอย่างสม่ำเสมอ

การจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

บริษัทฯ มีการคำนึงถึงประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เริ่มปรากฏชัดมากขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติและสภาพอากาศที่รุนแรง สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมและปรับตัวอย่างเหมาะสมไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเริ่มตั้งแต่ในการพัฒนานวัตกรรมและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ และเพื่อให้การจัดการสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ ดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมาย บริษัทฯ จึงได้จัดทำโครงสร้างกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้น เพื่อให้ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการบริษัท ในการผลักดัน ส่งเสริมและติดตามการดำเนินงานเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในบริษัทฯ รวมถึงมีการประเมินความเสี่ยงในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง  พร้อมทั้งวางเป้าหมายในการจัดการการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆขององค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบัน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง  3 ขอบเขตตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงาน เพื่อหาแนวทางป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมทั้งมุ่งมั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกในพื้นที่ที่เข้าไปพัฒนาทั้งในโครงการและโดยรอบโครงการ เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน ดำเนินการตามนโยบายสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยมีแนวปฏิบัติการจัดการระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้

  • มีแนวทางในการจัดการระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ ตรงตามเจตจำนงค์ในการรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  • มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยกระบวนการที่เหมาะสมก่อน ระหว่าง และหลังการพัฒนาโครงการตามที่กฎหมายกำหนด
  • มีการสำรวจและศึกษาระบบนิเวศวิทยา ดูแล อนุรักษ์พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ ในระบบนิเวศบริเวณพื้นที่โดยรอบของการก่อสร้าง และดำเนินการบริหารจัดการตามมาตรการ Mitigation Hierarchy ที่สนับสนุนการหลีกเลี่ยง ลดการเกิด ฟื้นฟูและชดเชย เมื่อดำเนินธุรกิจในบริเวณพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
  • มีการเลือกใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ในการก่อสร้างที่มาจากแหล่งผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มาจากพื้นที่ที่มีประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
  • จัดให้มีมาตรการดูแลการจัดการสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการพัฒนาและดำเนินธุรกิจ
  • ส่งเสริมให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียตระหนักถึงผลกระทบด้านนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพจากการดำเนินธุรกิจ และปลูกจิตสำนึกให้พนักงานมีส่วนร่วมแสดงความรับผิดชอบในขอบเขตที่พึงกระทำได้
  • เปิดเผย และสื่อสารเรื่องการจัดการระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมาตรการปฏิบัติ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสื่อสารช่องทางการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียนให้กับชุมชน และสังคมอย่างชัดเจน ในกรณีพบเห็นการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัทฯ ตระหนักถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้พักอาศัยในโครงการและชุมชนโดยรอบ เพื่อให้พื้นที่โครงการได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสภาพแวดล้อมและสร้างภูมิทัศน์ที่ดี จึงได้มีการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการลดความร้อน ลดผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้พันธุ์ที่คัดเลือกยังสามารถช่วยกรองฝุ่น ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้พื้นที่บริเวณโครงการหรือพื้นที่โดยรอบโครงการมีอากาศที่ดีขึ้นอีกด้วย

ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างและส่งมอบพื้นที่สีเขียวให้โครงการสำเร็จจำนวน 6 โครงการ ซึ่งรวมพื้นที่สีเขียวทั้งสิ้น 13,033.9 ตารางเมตร และมีการปลูกไม้ยืนต้น 673 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 10,095 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  ทั้งนี้ พื้นที่สีเขียวในโครงการคิดเป็น 39.44% ของพื้นที่รวม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดตามเกณฑ์การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทฯ ตั้งไว้เล็กน้อยเพียง 0.56% ซึ่งเป็นผลมาจากลักษณะโครงการที่แล้วเสร็จในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีขนาดเล็ก มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ส่งผลให้ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมได้มากเท่ากับที่คาดการณ์ไว้

แม้จะมีข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่ทางบริษัทฯก็ได้ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ต้นจามจุรี  รวมถึงพืชพันธุ์ที่ช่วยเสริมความสมดุลทางนิเวศวิทยา และความสวยงาม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด

สำหรับปี 2568 บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียวในทุกโครงการที่พัฒนาใหม่ โดยตั้งเป้าหมายให้โครงการที่ก่อสร้างใหม่มี สัดส่วนพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 40% ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่คำนึงถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการ

สัดส่วนพื้นที่สีเขียว

พื้นที่โครงการ
(ตร.ม.)

พื้นที่สีเขียว
(ตร.ม.)

ไม้ยืนต้น    (ต้น)

SO Origin Kaset Interchange

30.85%

3033.9

935.9

50

KnightsBridge Space Sukhumvit-Rama4

48.71%

2580.8

1257.0

74

Origin Play Sri Udom Station

28.52%

9940.0

2835.0

154

Origin Plug&Play Nonthaburi Station

49.91%

6058.4

3024.0

151

SO Origin Phahol 69 Station

34.04%

4800.0

1634.0

87

Origin Plug & Play Sirindhorn Station

51.63%

6485

3348

157

รวม

32898.1

13033.9

673

  • บริษัท “ไม่มี” โครงการใดที่ก่อสร้างในปี 2567 ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติ หรือรุกรานพื้นที่อนุรักษ์ 
  • บริษัท “ไม่มี” ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมบริเวณโครงการ



การบริหารจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมในงานก่อสร้าง

บริษัทฯ ได้ดำเนินงานตามหลักเกณฑ์เพื่อตอบรับนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ มีนโยบายว่าจ้างบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง และวิศวกรรมงานระบบประกอบอาคารที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ ทำให้โครงการสามารถผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับมาตรการ นโยบาย และแผนงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

  1. ด้านความปลอดภัยโครงการ (SAFETY PLAN) บริษัทฯ ตระหนักถึงความปลอดภัยในการดำเนินงานในทุกๆขั้นตอนของการพัฒนาโครงการ ดังนั้นจึงมีการการกำหนดแผนงานที่เน้นด้านความปลอดภัยในพัฒนาโครงการตั้งแต่ขั้นตอนในการจัดเตรียมพื้นที่ก่อนการก่อสร้าง ขณะก่อสร้าง และภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยปรากฎอยู่ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมถึงระบุอยู่ในสัญญาระหว่างบริษัทกับผู้รับเหมาทุกราย ในเรื่องของมาตรการความปลอดภัย ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ก่อสร้าง พื้นที่ข้างเคียง และพนักงานก่อสร้างที่จะต้องมีเครื่องมือ และอุปกรณ์ป้องกันในขณะทำงาน หรือสำหรับบุคคลภายนอกที่รับอนุญาตให้เข้าพื้นที่ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ ทุกโครงการต้องมีแผนป้องกันกรณีเหตุฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตเพื่อเตรียมความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  2. ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในพื้นที่โครงการและพื้นที่โดยรอบบริษัทมีการกำหนดมาตรในการดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการเกี่ยวกับน้ำ ฝุ่นละออง และต้นไม้ สำหรับพื้นที่โครงการที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ บริษัทฯ จะทำการออกแบบโครงการให้นำเอาต้นไม้มาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ และให้ทางรุกขกรผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบและแนะนำวิธีการตกแต่ง ดูแลต้นไม้ แทนการตัดหรือโค่นต้นไม้ออกจากพื้นที่ โดยมีการนำผลการตรวจสอบมาประชุม Site Meeting ทุกสัปดาห์เพื่อหาแนวทางควบคุม แก้ไข ป้องกัน ตามหลักการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อกำหนดของ EIA หรือมากกว่าข้อกำหนด

ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบสถานประกอบการ โดยเปิดช่องทางสื่อสารและหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้สะดวกที่สุด บริษัทฯ ได้จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและจัดการข้อร้องเรียน ตลอดจนสื่อสารผลการจัดการข้อร้องเรียนกลับไปยังผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางร้องเรียน

  • Call center : 1498
  • เว็บไซต์ www.origin.co.th
  • FB : Origin Property