แชร์

หลักสี่ – มีนบุรี – สำโรง : ทำเลน่าอยู่ 3 สถานีอินเตอร์เชนจ์รอบนอก

หลักสี่ – มีนบุรี – สำโรง
ทำเลน่าอยู่ 3 สถานีอินเตอร์เชนจ์รอบนอก

ทำเลน่าอยู่

หลักสี่ – มีนบุรี – สำโรง : ใครที่ใช้รถไฟฟ้าเป็นประจำจะพบว่า แต่ละสถานีที่เรานั่งผ่านนั้น มีจำนวนคนที่ขึ้น-ลง รถ ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยในบางสถานี ทางรถไฟฟ้าถึงกับต้องประกาศให้คนในรถ “ชิดใน” เพื่อให้คนที่รอรถ สามารถเข้าสู่ขบวนได้มากที่สุด ในขณะที่บางสถานี ก็แทบไม่มีคนเลย ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า สถานีที่มีคนขึ้น-ลง จำนวนมาก มักมีอย่างน้อย 1 ใน 3 คุณสมบัตินี้

  1. เป็นสถานีที่เป็นอินเตอร์เชนจ์ หรือ “จุดเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้า” ที่เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายอื่น
  2. เป็นสถานีที่เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ หรืออยู่ในย่านธุรกิจ/การค้า
  3. เป็นสถานีที่เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่

และหลายๆ ครั้งเราจะพบว่า สถานีที่มีคุณสมบัติข้อ 1 มักจะมาพร้อมกับข้อ 2 หรือ 3 เป็นส่วนใหญ่ เพราะถือว่าเป็นสถานีที่มีความสำคัญมากพอ และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จนได้รับเลือกให้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางของรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง

รถไฟฟ้าสถานีอินเตอร์เชนจ์

การใช้ชีวิตในย่านใกล้รถไฟฟ้าสถานีอินเตอร์เชนจ์ จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบเดินทางไปยังพื้นที่ๆ หลากหลาย ด้วยรถไฟฟ้า หรือต้องการตอบโจทย์การเดินทางที่หลากหลายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่มีสมาชิกในบ้านหลายคน อย่างไรก็ตาม สถานีอินเตอร์เชนจ์หลายแห่ง โดยเฉพาะในย่านใจกลางเมือง ก็มีความหนาแน่นเกินกว่าที่จะสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ หรือบางครั้ง ราคาคอนโดในพื้นที่ก็มีราคาแพงเกินเอื้อม ยิ่งถ้าเป็นคนที่ต้องการคอนโดพื้นที่ใหญ่ๆ ราคาก็จะยิ่งโดดไปไกล

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเลือกคอนโดใกล้สถานีอินเตอร์เชนจ์ในย่าน EBD – Extended Business District หรือ ส่วนต่อขยายย่านธุรกิจ ที่เพียบพร้อมไปด้วยแหล่งงาน ศูนย์การค้า สิ่งอำนวยความสะดวก และการเดินทางที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าหลายสาย เช่นเดียวกับย่าน CBD แต่มีความหนาแน่นต่ำกว่า ซึ่งหากเรากางแผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ ขึ้นมา เราจะพบว่า เส้นทางรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ จะวิ่งไปตามแนวถนนสายหลักที่เราคุ้นเคย

 

วงเวียนหลักสี่

ย่านหลักสี่ ถือเป็นหนึ่งในทำเลยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพฯ โซนเหนือ ก่อนที่จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ และรถไฟฟ้าสายสีชมพูเสียอีก เพราะเป็นจุดตัดในรูปแบบวงเวียนขนาดใหญ่ของถนนสายหลัก 3 สาย คือ รามอินทรา พหลโยธิน แจ้งวัฒนะ แถมยังสามารถเชื่อมไปยังถนนวิภาวดีรังสิตและทางยกระดับอุตราภิมุขได้ง่าย

ซึ่งถนนแต่ละสายในย่านนี้ ล้วนเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญและสถานศึกษาหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะที่รวมหน่วยงานราชการจำนวนมากเอาไว้ ตามด้วยกองทัพอากาศ และสนามบินดอนเมือง และยังมีสถานศึกษาในพื้นที่เช่น ม.ศรีปทุมฯ และ ม.เกษตรศาสตร์

ยังไม่รวมถึงห้างสรรพสินค้าในย่านใกล้เคียง อาทิ ไอทีสแควร์ เซ็นทรัลรามอินทรา เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ และศูนย์การค้าชุมชนที่หลากหลายบนถนนรามอินทราในละแวกใกล้เคียง ที่ช่วยตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้ดี จนดูเหมือนว่า ปัญหาเพียงอย่างเดียวที่เหลืออยู่คือ การจราจรที่ติดขัด ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไปยังศูนย์การค้า สถานศึกษา และสถานที่สำคัญต่างๆ ในย่านนี้ระหว่างช่วงเวลาเร่งด่วนได้มาก

ความได้เปรียบอีกอย่างของสถานีวงเวียนหลักสี่คือ เป็นสถานีที่เชื่อมต่อโดยตรงกับ BTS สายสุขุมวิท ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อโดยตรงกับย่านที่สำคัญอย่างจตุจักร อนุสาวรีย์ชัยฯ สยาม เพลินจิต อโศก ฯลฯ

 

สำโรง

ในอดีต ย่านแห่งนี้เป็นเพียงย่านชุมชนธรรมดาๆ บนชายขอบของพื้นที่กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ แต่หลังจากที่ BTS สำโรง ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อโดยตรงกับ BTS สายสุขุมวิทมาถึง ย่านนี้ก็กลายเป็นย่านเนื้อหอม ที่มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาลงทุนและพักอาศัยจำนวนมาก เช่นเดียวกับย่านหลักสี่ ที่สามารถเชื่อมการเดินทางเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองได้รวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ เมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่นๆ

และในปี 2564 สถานีสำโรง ก็จะกลายเป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่สมบูรณ์แบบ ในวันที่รถไฟฟ้าสายสีเหลืองสร้างเสร็จ โดยจะวิ่งตามเส้นทางถนนเทพารักษ์ เลี้ยวเข้าถนนศรีนครินทร์ ผ่านจุดสำคัญๆ บนถนนรามคำแหง และลาดพร้าว จนไปบรรจบที่ MRT ลาดพร้าว

 

มีนบุรี

ทำเลแห่งอนาคตที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ โซนตะวันออก จากการเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีส้ม วิ่งตามถนนสายหลักที่ทุกคนคุ้นเคยอย่างรามอินทรา และรามคำแหง ซึ่งจะสามารถเชื่อมการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ไฮไลท์ของจุดอินเตอร์เชนจ์แห่งนี้อยู่ที่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นสายที่ผ่านสถานศึกษาในพื้นที่หลายแห่ง รวมทั้ง Landmark ของย่านรามคำแหงอย่างราชมังคลากีฬาสถาน ก่อนจะไปบรรจบที่ MRT ศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังย่าน CBD อื่นๆ ได้ง่าย

 

ความน่าสนใจของสถานี New Interchange เหล่านี้คือ การเป็นจุดที่เชื่อมต่อการเดินทางไปยังหลากหลายเส้นทาง ในย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียบพร้อม โดยทั้งหมดมาพร้อมกับราคาที่พักอาศัยที่ไม่สูงนัก และมีโอกาสเติบโตสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางได้ดีกว่าสถานีที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าเพียง 1 เส้นทาง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่องราวที่น่าสนใจ

เพราะ ‘สัตว์เลี้ยง คือสมาชิกในครอบครัว’ 𝗢𝗥𝗜𝗚𝗜𝗡 𝗩𝗘𝗥𝗧𝗜𝗖𝗔𝗟 จึงได้ออกแบบ พัฒนาโครงการ…
ภาครัฐฯ ออกนโยบายเอื้อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองปรับปรุงมาตรการ “ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม” สำหรับที่อยู่อาศัยปี 2567คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยมีรายละเอียดสรุปได้…
อยู่คอนโดก็สามารถเลี้ยงสัตว์ได้แบบไม่ต้องแอบ เพราะออริจิ้นเราเข้าใจเหล่า Pet Lover จึงพัฒนาคอนโดสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้โดยเฉพาะ และยิ่งแฮปปี้กันแบบคูณสอง ทั้งน้องๆ และคนเลี้ยง…
สร้างพื้นที่สีเขียวในห้องเรา ด้วยต้นไม้มงคล ทั้งเฮงทั้งสุขภาพดีไปพร้อม ๆ กัน นอกจากต้นไม้จะสร้างบรรยากาศและให้ความสวยงามสบายตาแล้ว ยังช่วยให้ห้องน่าอยู่มากยิ่งขึ้น…
จากชีวิตอันแสนเร่งรีบ เราต่างต้องหาจังหวะชีวิตของตัวเอง เพื่อพร้อมปรับตัวทุกสถานการณ์ ในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ‘ที่อยู่อาศัย’ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต่างต้องเลือกสรรให้เข้าตัวเองมากที่สุด และแน่นอนว่าหลายๆ…