ขอต้อนรับท่านเข้าสู่สถานแห่งการพักอาศัย
บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้

คู่มือพักอาศัยฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย
บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

เพื่อมอบให้กับเจ้าของร่วม ทุกท่านให้ได้รับทราบถึง ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการพักอาศัยร่วมกันภายในอาคารชุด เริ่มตั้งแต่เมื่อท่านประสงค์จะเข้าพักอาศัยหรือ เข้าตกแต่งห้องชุด การใช้พื้นที่ส่วนกลางภายในโครงการ การขอรับบริการต่างๆ จากฝ่ายบริหาร อาคารชุด ตลอดจนกฎระเบียบในการพักอาศัยที่พึงทราบ เพื่อให้ท่านเจ้าของร่วมทุกท่านสามารถ พักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และช่วยรักษาไว้ซึ่งมูลค่าของทรัพย์สินของท่านให้คงอยู่ตลอดไป ทั้งนี้ระเบียบการหรือแนวปฏิบัติต่างๆ หรือข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

สารบัญ

  • การแจ้งชื่อเมื่อย้ายเข้าอยู่
  • การขออนุญาตตกแต่งห้องชุด
  • การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
  • การนำทรัพย์สินเข้า – ออกภายในอาคาร
  • การเข้า – ออกของผู้พักอาศัยและผู้มาติดต่อ
  • การใช้พื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์
  • การใช้บริการสระว่ายน้ำ
  • การใช้บริการห้องออกกำลังกาย
  • การประกันภัยและความคุ้มครอง
  • ความคุ้มครองความรับผิดชอบ
  • ต่อบุคคลภายนอก
  • การดูแลรักษาพื้นไม้ลามิเนต
  • เมื่อไม่ได้เข้าพักอาศัยเป็นเวลานาน
  • การชำระค่าใช้จ่ายส่วนตัวและ
    ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
  • ระเบียบในการพักอาศัย
  • หน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุด
  • คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
  • หน้าที่ของคณะกรรมการ
    นิติบุคคลอาคารชุด
  • หน้าที่ของฝ่ายบริหารจัดการ
  • ห้องชุดเพื่อบริการเช่าพักอาศัย
  • การขอเอกสารหนังสือปลอดหนี้

การแจ้งชื่อเมื่อย้ายเข้าอยู่

เมื่อท่านเจ้าของห้องชุดย้ายเข้าพักอาศัยในอาคารชุดสิ่ง
แรกที่ควรปฏิบัติคือการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานนิติบุคคลได้ทราบถึงการย้ายเข้า พร้อมลงทะเบียนการ
เข้าพักอาศัยเบอร์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน แจ้งจำนวนสมาชิก ทะเบียนรถยนต์และแจ้งความประสงค์ให้ทางฝ่ายบริหารจัด
การดำเนินการเปิดมิเตอร์น้ำและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้า
ภายในห้องชุดของท่าน พร้อมทั้งจดมิเตอร์น้ำประปาเพื่อ
ใช้คำนวณและเรียกเก็บค่าน้ำตามจำนวนการใช้น้ำประปาใน
เดือนถัดไป

การขออนุญาตตกแต่งห้องชุด

1. ยื่นแบบแปลนการเข้าตกแต่ง 2 ชุดให้ฝ่ายบริหาร จัดการ ที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อทำ การตรวจสอบก่อนเข้าตกแต่งล่วงหน้า 7 วัน

2. วางเงินค้ำประกันความเสียหายล่วงหน้า โดย เจ้าของห้องชุดจะต้องชำระภายใน 3 วัน หลังจาก แบบผ่านการอนุมัติจากทางอาคารแล้วตามจำนวน ที่อาคารกำหนดซึ่งเงินค้ำประกันความเสียหาย ล่วงหน้านี้จะได้รับคืนภายหลังจากการตกแต่ง
ห้องชุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

3. ชำระเงินค่าใช้ลิฟต์และรักษาความสะอาดพื้นที่ ส่วนกลาง จำนวน 1,000 บาท ต่อห้องต่อเดือน

4. แจ้งชื่อผู้ที่จะเข้าทำการตกแต่งและขอบเขตงาน เพื่อทางฝ่ายบริหารจัดการสามารถตรวจสอบและ อนุญาตให้บุคคลดังกล่าวผ่านเข้า – ออกอาคาร

5. เข้าตกแต่งเฉพาะวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา  09.00 -17.00 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ ตามระเบียบอาคารชุด ทั้งนี้หากการตกแต่งมี ผลกระทบกับพื้นที่ส่วนกลางหรือห้องชุดอื่นๆ หรือมลภาวะทางกลิ่น, เสียง หรือได้รับ การ ร้องเรียน ทางนิติบุคคลขอสงวนสิทธ์ิให้ยุติการตกแต่งได้

6. ยินยอมให้ความสะดวกแก่ฝ่ายบริหารจัดการ เข้าทำการตรวจสอบหลังจากการตกแต่งเสร็จ เรียบร้อยแล้ว เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของ ห้องชุดว่าเป็นไปตามแบบหรือไม่ หากเป็นไปตาม แบบทางนิติบุคคลอาคารชุดจะดำเนินการคืนเงิน ค้ำประกันห้องชุด ซึ่งเจ้าของห้องชุดจะต้องยื่น เอกสารดังนี้
– ใบเสร็จตัวจริงที่ทางนิติบุคคลอาคารชุดออกให้
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้วางเบิกค้ำประกัน

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

1. ขอรับแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ติดตั้งเครื่อง ปรับอากาศที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด
2. ส่งรายละเอียด แบบแปลนหรือตำแหน่งติดตั้งเพื่อพิจารณา
3. ต้องควบคุมขณะ ช่าง/ผู้รับเหมามาปฏิบัติงาน
4. เข้าติดตั้งเฉพาะวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
5.ยินยอมให้ความสะดวกแก่ฝ่ายบริหารจัดการเข้า ทำการตรวจสอบ กรณีมีงานเชื่อม ตัด หรือมีประกายไฟ ผู้รับเหมาติดตั้งต้องนำถังดับเพลิงพร้อมใช้งานขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ทำงาน ทั้งนี้ น้ำหนักเครื่องปรับอากาศต้องไม่เกินที่กำหนดของอาคารนั้นๆ

การนำทรัพย์สินเข้าออกภายในอาคาร

เพื่อเป็นการป้องกันบุคคลภายนอกลักลอบขนย้ายทรัพย์สินภายในห้องชุดหรือทรัพย์ส่วนกลางออกนอกอาคารจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการการขนย้ายทรัพย์สินเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในอาคารของเราโดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ขอรับแบบฟอร์มอนุญาตนำทรัพย์สินเข้า -ออกได้ที่สำนักงานนิติบุุคคล 
2. กรอกรายละเอียดทรัพย์สินให้ครบถ้วน
3. เจ้าหน้าที่นิติบุคคลอาคารชุดพิจารณาลงนามอนุมัติ
4.ยื่นที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อตรวจสอบรายการ
5. การขนย้ายให้ใช้ลิฟต์ขนของและขนย้ายด้วยความระมัดระวัง

การเข้า - ออกของผู้พักอาศัย

1. เจ้าของห้องชุดมีสิทธิ์บันทึกลายนิ้วมือและ ขอรับบัตรคีย์การ์ดสำหรับผ่าน เข้า-ออก ภายในอาคารชุด เฉพาะชั้นที่มีห้องชุดของตน ตั้งอยู่ ชั้นที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนกลาง (Facility) และลานจอดรถ ตามระเบียบของ นิติบุคคลอาคารชุด

2. นิติบุคคลอาคารชุดไม่อนุญาตให้เจ้าของ ห้องชุด จำหน่าย จ่าย โอนสิทธิ์การใช้บัตร คีย์การ์ดให้แก่บุคคลอื่น ยกเว้นเป็นการให้ ไว้แก่ผู้เช่า ผู้พักอาศัย และ/หรือ บริวาร ของเจ้าของห้องชุดเท่านั้น

3. นิติบุคคลอาคารชุดขอสงวนสิทธิ์ระงับการ ใช้งาน บัตรคีย์การ์ด เข้า – ออก อาคารชุด หรือ เรียกคืนบัตรคีย์การ์ดได้ทันทีกรณีพบ การปลอมแปลง ทำซ้ำ

การใช้บริการสระว่ายน้ำ

1. สระว่ายน้ำเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 – 22.00 น.

2. ผู้ใช้บริการต้องเป็นเจ้าของห้องชุด หรือผู้พัก อาศัยที่ได้รับอนุญาตโดย 1 ห้องชุด จะได้สิทธิ์ิ์ จำนวน 4 สิทธิ์

3. ห้ามบุคคลดังต่อไปนี้ใช้บริการสระว่ายน้ำ – ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังหรือเป็นโรคติดต่อ ทุกชนิด – เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีใช้บริการสระว่ายน้ำโดย ไม่มีผู้ปกครองดูแล

4. ห้ามสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณสระว่ายน้ำ

5.ผู้ใช้บริการต้องสวมชุดว่ายน้ำตามแบบมาตรฐาน สากล

6. ชำระร่างกายก่อนลงสระ

7. ห้ามสูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม บริเวณสระว่ายน้ำ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์

8. ห้ามลงสระว่ายน้ำในขณะที่ฝนตก

9. ห้ามนำแก้ว หรือวัสดุสิ่งของที่แตกได้ และเป็น อันตรายเข้ามาในบริเวณสระว่ายน้ำ

10.ห้ามนำอุปกรณ์ที่ใหญ่เกินควรลงมาเล่นในสระ ว่ายน้ำ

11. ใช้สระว่ายน้ำด้วยความสุภาพไม่รบกวนผู้อื่น

12.สงวนลิขสิทธิ์เฉพาะเจ้าของห้องชุดและผู้อาศัย เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบการใช้พื้นที่ของ อาคาร

การใช้บริการห้องซาวน่า และห้องอบไอน้ำ

1. ผู้ใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพและเหมาะสม

2. ขอความร่วมมือในการใช้งานด้วยความสุภาพ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนสิทธิ์ของผู้อื่น

3. ผู้ใช้บริการต้องศึกษาคำแนะนำ ข้อเสนอแนะตลอดจนวิธีการใช้ห้องซาวน่า และห้องอบไอน้ำตามวิธีที่ถูกต้อง

4. ห้ามนำสมุนไพร หรือวัตถุปรุงแต่งอื่นใด เข้าไปใช้ในห้องอบไอน้ำ

การประกันภัยและความคุ้มครอง

นิติบุคคลอาคารชุดมีการจัดทำประกันภัยอาคารชุดซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยจะเก็บตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนกลาง ซึ่งอาจจัดเก็บแยกจากค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยคุ้มครองความเสียหาย ดังนี้

1. ความสูญเสีย หรือความเสียหายต่ออาคาร

2. ความสูญเสีย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคาร

3.ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก

การใช้พื้นที่จอดรถ

1. เจ้าของร่วมที่มีสิทธิ์จอดรถภายในอาคารตาม สัญญาซื้อ – ขาย ห้องชุด

2. เจ้าของร่วมสามารถขออุปกรณ์ผ่านเข้า-ออก ได้ โดยใช้เอกสาร ดังนี้ – สำเนาบัตรประชาชน – สำเนาทะเบียนรถ – หนังสือมอบอำนาจ และ ในกรณีเป็นผู้พักอาศัยใช้สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของร่วม และ สำเนาบัตรประชาชนผู้พักอาศัย – สำเนาทะเบียนรถ 

3. พื้นที่จอดรถสำหรับผู้มีสิทธิ์ (เจ้าของร่วมหรือผู้พักอาศัยที่ได้รับสิทธิ์)ต้องใช่ พื้นที่จอดรถ Auto Parking เท่านั้น

4. พื้นที่จอดรถสำหรับแขกหรือผู้มาติดต่อเป็นที่ จอดรถชั่วคราว อนุญาตให้จอดได้  หากจอดเกินกำหนด เวลาจะต้องชำระค่าใช้พื้นที่จอดรถตามที่ นิติบุคคลอาคารชุดกำหนดไว้ ผู้นำรถเข้าจอด ต้องปฏิบัติ ดังนี้

4.1 ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรอย่างเคร่งครัด
4.2 จอดรถตรงตามช่องจอดหรือเครื่องหมาย ที่จัดเตรียมไว้ และจอดติดแนวสันล้อด้านใน
4.3 ไม่จอดรถกีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อ การจอดรถหรือผ่านเข้า – ออกของรถคันอื่น
4.4 ไม่นำวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด อาวุธหรือวัตถุ อันตรายอื่นๆ และสิ่งผิดกฎหมายเก็บไว้ในรถ
4.5 ใช้พื้นที่จอดรถด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนเกินควร
4.6 ห้ามติดเครื่องยนต์ไว้ในที่จอดรถ
4.7 ห้ามซ่อมเครื่อง ตกแต่งรถและนำสิ่งของ วางไว้บนพื้นที่จอดรถ
4.8 ห้ามจอดรถประเภทรถบรรทุก รถโดยสาร ประจำทางทุกชนิดที่มีขนาดใหญ่เกินหนึ่ง ช่องจอดรถโดยเด็ดขาด
4.9 ไม่อนุญาตให้ล้างรถบริเวณที่จอดทุกชั้น
4.10 ห้ามเล่นการพนันทุกประเภทดื่มของมึนเมา ทุกชนิด หรือกระทำการอันผิดกฎหมายใดๆ
4.11 กรณีที่ฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎระเบียบมีบทลง โทษตามลำดับ – เตือนด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร – นิติบุคคลขอสงวนสิทธิ์ที่จอดรถรอบ อาคารตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อ อำนวยความสะดวกให้รถดับเพลิง และ รถฉุกเฉินเท่านั้น – หากยังฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 500 บาท (ห้าร้อยบาท) ต่อครั้งที่ฝ่าฝืนหรือขัดต่อ ระเบียบ – หากฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับ ฝ่ายบริหาร จัดการจะไม่อนุญาตให้รถดังกล่าว เข้า – ออก และจอดรถในพื้นที่จอดรถ
4.12 บุคคลที่ฝ่าฝืนระเบียบนี้ ฝ่ายบริหารจัดการ จะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายอนุญาต
4.13 การอนุญาตให้นำรถผ่านเข้า – ออก และจอด ตามระเบียบนี้ ไม่ถือว่าเป็นการรับฝากทรัพย์ นิติบุคคลอาคารชุดไม่รับผิดชอบต่อความ เสียหาย สูญหายทรัพย์สินใดๆทั้งสิ้นตลอดจน อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นทุกกรณี

การใช้บริการห้องออกกำลังกาย

1. ห้องออกกำลังกายเปิดบริการตั้งแต่เวลา 07.00 – 22.00 น.

2. ผู้ใช้บริการต้องเป็นเจ้าของห้องชุด หรือผู้พัก อาศัยที่ได้รับอนุญาตโดย 1 ห้องชุด จะได้สิทธิ์ จำนวน 4 สิทธิ์

3. อนุญาตให้เจ้าของร่วมหรือผู้พักอาศัยในห้องชุด โดยใช้สิทธิ์ของเจ้าของร่วมใช้บริการได้ เท่านั้น กรณีบุคคลภายนอกให้เป็นไปตามมติ คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดฯ หรือมติที่ ประชุมใหญ่ฯ กำหนดระเบียบการใช้ ห้องออกกำลังกายต่อไป

4.การใช้บริการต้องแต่งกายด้วยชุดสำหรับเล่น กีฬาที่เหมาะสมและไม่เปียกน้ำ พร้อมทั้งสวม รองเท้าสำหรับเล่นกีฬา ตลอดจนห้ามถอดเสื้อ หรือสวมรองเท้าแตะขณะออกกำลังกาย

5. ผู้ใช้บริการต้องศึกษาคำแนะนำข้อเสนอแนะตลอดจนวิธีการใช้เครื่องออกกำลังกายที่ติด อยู่ในห้องออกกำลังกายก่อนการใช้บริการทุกครั้ง

6. บุคคลต่อไปนี้ห้ามใช้บริการห้องออกกำลังกาย โดยเด็ดขาด – ผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรงหรืออยู่ระหว่างการ พักฟื้น – ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทุกชนิดและโรคหัวใจ – ผู้ที่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมาทุกชนิดรวม ถึงคนที่มีอาการมึนเมา – เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้พื้นที่โดยลำพัง

7. ห้ามนำอาหารทุกชนิด เข้าไปรับประทานในห้อง ออกกำลังกายโดยเด็ดขาด

8. ห้ามสูบบุหรี่หรือดื่มของมึนเมาในห้อง ออกกำลังกาย

9. ขอความร่วมมือในการรักษาความสะอาด และ โปรดใช้อุปกรณ์ด้วยความสุภาพ เพื่อไม่เป็น การรบกวนสมาธิของผู้อื่น

10.โปรดใช้เครื่องออกกำลังกายตามวิธีที่ถูกต้อง หากเกิดความเสียหายหรือเกิดความไม่สะดวก กรุณาแจ้งฝ่ายบริการจัดการ ให้ทราบทันที

11. ขอความร่วมมืองดเว้นการใช้โทรศัพท์มือถืออุปกรณ์เครื่องเสียงรบกวนผู้อื่น

ความคุ้มครองความรับผิดชอบ ต่อบุคคลภายนอก

ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินภายในห้องชุด (ทรัพย์ส่วนบุคคล) เจ้าของร่วมสามารถขยายความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินภายในห้องชุด โดยการซื้อกรมธรรม์เพิ่มในส่วนของการประกันภัยต่อทรัพย์สินภายในห้องชุด

การดูแลรักษาพื้นไม้ลามิเนต

1. ทำความสะอาดพื้นไม้ด้วยไม้กวาดหรือ เครื่องดูดฝุ่นตามปกติ

2. กรณีที่ทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาทำความสะอาดผสมกับน้ำ ควรระมัดระวังไม่ให้ผ้าหรือม็อบที่เช็ดฝุ่นชุ่มน้ำมากเกินไป และไม่ควรให้มีน้ำขังบนพื้นไม้ เนื่องจากจะทำให้พื้นไม้ลามิเนตเสียหายได้

3. หากทำน้ำหกลงบนพื้นให้รีบใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งทันที เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าใต้แผ่นพื้น หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดคราบถาวรและทำให้พื้นไม้บวมได้

การดูแลรักษากระเบื้องยาง

1. ทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ

2. ถ้าหากมีรอยเปื้อนที่ค่อนข้างชัดเจนหรือรอยหมึกแนะนำให้ใช้น้ำยาล้างเล็บเทลงบนบริเวณที่มีการเปื้อนทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยนำผ้าสะอาดเช็ดวนรอบๆ และปล่อยให้แห้งหลังจากนั้นเช็ดตามด้วยน้ำยาเช็ดกระจกอีกครั้งแล้วซับด้วยกระดาษทิชชู่

3. ไม่ควรทำความสะอาดกระเบื้องยางโดยการใช้แปรงที่มีความแข็ง ถู หรือ ขัด เพราะอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วน ขูดสีถลอก

เมื่อไม่ได้เข้าพักอาศัยเป็นเวลานาน

1. ตรวจสอบครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และสับเบรกเกอร์ไฟฟ้าของห้องชุดลง

2. ตรวจสอบก๊อกน้ำและถังชักโครกปิดก๊อกน้ำให้สนิทและปิดวาล์วน้ำหน้าห้องชุด

3. ตรวจสอบประตูระเบียงและหน้าต่างทุกบาน ปิดให้สนิทเพื่อป้องกันฝนสาดเข้ามาภายในห้องชุด

4. กรณีที่ไม่มีผู้พักอาศัยควรหาโอกาสเข้าเปิดห้องชุดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศและลดความชื้นภายในห้องซึ่งอาจมีผลต่อการยืดหดตัวของไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และพื้นไม้ลามิเนต

การกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้พักอาศัยเพื่อเป็นบรรทัดฐานการอาศัยอยู่ร่วมกัน สร้างให้อาคารชุดแห่งนี้เป็นบ้านที่คุณและเพื่อนบ้านทุกคนมีความสุข อบอุ่น ปลอดภัยมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นชุมชนที่น่าอยู่

1. การชำระค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

เจ้าของร่วมมีการชำระค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

– ค่าใช้จ่ายส่วนตัว

– ค่าใช้จ่ายในการบริหารส่วนกลาง

1.2.2.1 คำใช้จ่ายว่าจ้างบริการที่มีสัญญา (ขึ้นอยู่กับข้อบังคับนิติบุคคลแต่ละแห่ง) 

1.2.2.2 ค่าใช้จ่ายด้านการจัดซื้อทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อส่วนรวม เช่น ชุดนั่งรับรองบริเวณล็อบบี้ หลอดไฟแสงสว่างทางเดินส่วนกลาง ฯลฯ เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานของนิติบุคคลอาคารชุด

1.2.2.3 ค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลาง

1.2.2.4 ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการ

– ค่าสาธารณูปโภคของนิติบุคคลอาคารชุด

– ค่าใช้จ่ายสำนักงาน

– ค่าใช้จ่ายซ้อมหนีไฟ

– ค่าใช้จ่ายการฟ้องร้องในคดีต่างๆ

– ค่าที่ปรึกษาวิชาชีพต่างๆ

1.2.3 ค่าเบี้ยประกันภัยอาคารชุด เบี้ยประกันภัยอาคารชุดจะนำไปจัดทำประกันภัยเพื่อประกันความเสี่ยงและลดความเสียหายในภัยและอุบัติหตุที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยอาคารชุด จะจัดเก็บตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนกลางซึ่งจัดเก็บแยกจากค่าใช้จ่ายส่วนกลาง


3. การประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมประจำปี

– นิติบุคคลอาคารชุดจะมีการจัดประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ท่านเจ้าของร่วมควรมีส่วนร่วม

– แสดงความคิดเห็นและกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนที่ทุกท่านอาศัยอยู่ร่วมกันกำหนดงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย การซ่อมบำรุง การรักษาความสะอาด การดูแลสวนส่วนกลาง

– การสมัครและเลือกตั้งคณะกรรมการ ควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในวาระการประชุมใหญ่ เจ้าของร่วม เพื่อเลือกสรรผู้มีความรู้ ความสามารก วางใจได้ เพื่อเป็นตัวแทนร่วมแสดงความคิดเห็น และดำเนินการด้านต่างๆ แทนเจ้าของร่วมท่านอื่น


4.ร่วมกิจกรรมสำคัญที่จัดเพื่อความ

ปลอดภัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

– ซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี : เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณี

ฉุกเฉินเกิดเพลิงไหม้ เจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยต้องทราบตำแหน่งของบันไดหนีไฟ เส้นทางที่จะอพยพ และวิธีการที่จะอพยพ และวิธีการที่จะอพยพถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงการแจ้งเหตุ ต่อฝ่ายบริหารจัดการ การรับฟังสัญญาณบอกเหตุและการอพยพ การใช้ถังเคมีดับเพลิง ที่ถูกต้อง และการปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุ

– งานทำบุญประจำปี : เพื่อเป็นการร่วมสืบสานประเพณีอันดีงาม

และเพื่อความเป็นสิริมงคลของเจ้าของร่วมที่พักอาศัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภายในอาคารชุด

1.1 ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ได้แก่

– คำน้ำประปาชำระได้ที่สำนักงานนิติบุคคล

– ค่ารักษามาตรวัดน้ำ

เพื่อเป็นการรักษามาตรวัดน้ำของห้องชุดนั้นๆ ซึ่งจะจัดเก็บเป็นรายปี โดยสามารถชำระได้ที่นิติบุคคลอาคารชุดและหากมาตรวัดน้ำเกิดการชำรุดเสียหายนิติบุคคลอาคารชุดจะจัดการซ่อมแซมหรือติดตั้งทดแทนให้ท่านใหม่

– ค่าไฟฟ้าประจำเดือน ชำระได้ที่สาขาของการไฟฟ้านครหลวง หรือจุดบริการรับชำระ เช่น ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส

– ค่าโทรศัพท์สายตรง ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าบริการ TRUE VISION ชำระได้ที่บริษัทของผู้ให้บริการหรือจุดบริการที่รับชำระ

– ค่าซ่อมแชมอื่นๆ ภายในห้องชุด

1.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหารส่วนกลาง เจ้าของร่วมต้องร่วมกันชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันเกิดจากการบริการเพื่อส่วนรวมและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ 

1.2.1 เงินกองทุน เป็นเงินที่ทางนิติบุคคลอาคารชุดเรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดทุกราย โดยจัดเก็บครั้งแรกเพียงครั้งดียว เพื่อไว้เป็นกองทุนสำรองยามเกิดหตุฉุกเฉินที่จำเป็นเร่งด่วนในอาคาร เมื่อมีการใช้เงินกองทุนไปแล้ว ทางนิติบุคคลอาคารชุดสามารถเรียกชดเชยคืนจากเจ้าของร่วมตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง

1.2.2 ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เป็นเงินที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุด

ทุกรายในอัตราส่วนที่เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนกลางต่อเดือนเพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด เช่น

– ค่าบริหารและจัดการอาคารชุด

– ค่าบริการรักษาความปลอดภัย

– ค่าบริการรักษาความสะอาด

– ค่าบริการกำจัดปลวก แมลง และหนู

– ค่าบริการดูแลสวนและภูมิทัศน์

– ค่าบริการดูแลรักษาลิฟต์และระบบงานต่างๆ

*หรือขึ้นอยู่กับข้อบังคับของ แต่ละอาคารชุดเป็นหลัก

 

2. ระเบียบในการพักอาศัย

– ต้องใช้ประโยชน์ห้องชุดเพื่อเป็นที่พักอาศัยเท่านั้น

– เจ้าของร่วมต้องตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องชุด ให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

– การดัดแปลง แก้ไข ต่อเติม ตกแต่งภายในห้องชุดต้องส่งแบบแปลนพร้อมรายละเอียดเพื่อพิจารณาตรวจสอบ และอนุมัติก่อนพร้อมวางเงินค้ำประกันความเสียหาย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างหรือระบบต่างๆ ของอาคาร

– ห้ามใช้แก๊ส เตาถ่าน หรือเก็บวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟหรือง่ายต่อการเป็นชื้อเพลิงในห้องชุด เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้

– ไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ทุกชนิด หรือนำเข้ามาในบริเวณอาคารชุด

– การเทน้ำ รดน้ำ ทิ้งขยะ ออกนอกห้องชุดหรือนอกระเบียง อาจทำให้ผู้พักอาศัยด้านล่าง ได้รับความเดือดร้อน

– กรณีไม่ได้พักอาศัยควรปิดระบบไฟฟ้า/น้ำประปา ประตู หน้าต่างให้มิดชิดและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปภายในห้องชุดได้ในกรณีกิดหตุฉุกเฉินและควรกลับเข้ามาดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องชุดอย่างน้อยทุก 3 เดือน

– ห้ามวางสิ่งของส่วนตัว อาทิ รองเท้า พรมเช็ดเท้า ชั้นวางรองเท้า กระถางต้นไม้ ขยะ รถเข็น ในทางเดินส่วนกลาง

– ห้ามดัดแปลง แก้ไข ต่อเติม ภายในระเบียงห้องชุด และ/หรือประตูทางเข้าห้องชุด กำแพงผนัง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภายนอก

– ห้ามติดประกาศโฆษณา หรือสิ่งของใดๆ ที่ระเบียงห้องชุด

– ห้ามวางสิ่งของ ตากผ้า หรือแขวนกระถางต้นไม้เหนือราวระเบียงกันตก

– การติดตั้งเครื่องซักผ้าในห้องชุด ต้องเป็นระบบฝาหน้าเท่านั้น

– การปล่อยเช่าห้องชุดเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวระยะสั้น (รายวัน รายสัปดาห์) โดยมีค่าตอบแทน เป็นการกระทำที่อาจฝ่าฝืน พรบ. โรงแรม พ.ศ.2547 เจ้าของห้องชุดอาจต้องระวังโทษอาญาตามกฎหมายกำหนด


5. ปฏิบัติตามระเบียบอาคารชุด

การให้ความร่วมมือโดยการปฏิบัติตามระเบียบอาคารชุดของท่านเจ้าของร่วมทุกท่าน นอกจากจะช่วยให้ทรัพย์สินส่วนกลางของอาคาร สามารถยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายใน การซ่อมแซมหรือซื้อใหม่ทดแทนยังผลให้นิติบุคคลมีเสถียรภาพทางการเงินแล้วยังช่วยสร้างมิตรไมตรีให้เกิดขึ้นระหว่างเจ้าของร่วมที่พักอาศัยภายในอาคารแห่งนี้ รวมถึงสร้างความสงบเรียบร้อย และ

วัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่ดีงาม

ปฏิบัติตามระเบียบอาคารชุด

นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลและจัดการทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้ห้องชุดและการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางร่วมกันตามมติของเจ้าของร่วม ภายใต้ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด และโดยอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. จัดให้มีเงินกองทุน และงบประมาณรับ – จ่าย ตลอดจนการชำระภาษีอากรเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ในการเรียกเก็บเงินจากเจ้าของร่วม

2. ว่าจ้างดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และมีประสิทธิภาพ

3. จัดให้มีระบบงานด้านการจัดการและบริหารอาคารชุด ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการเงินภาษีอากร งานธุรการการว่าจ้างงานเฉพาะอย่าง

ตลอดจนการจัดบุคลากรประจำอาคารชุดอันเป็นประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อส่วนรวมของอาคารชุด

4. ดูแลรักษาสิทธิ์และทรัพย์สินส่วนกลางทั้งหมด

5. ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดต่ออาคารชุดและทรัพย์ส่วนกลางรวมทั้งทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย


หน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

1. ควบคุม ดูแล และตรวจสอบการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด

2. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายให้ผู้จัดการเพื่อนำไปปฏิบัติ กำหนดระเบียบและมาตรการต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของกฎหมาย และข้อบังคับของอาคารชุด

3. มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องราว คำร้องขอต่างๆ และตัดสินปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอาคารชุด

4. มีอำนาจและหน้าที่พิจารณา และอนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

5. มีอำนาจหน้าที่ในการทำนิติกรรม หรืออนุมัติให้ผู้จัดการ หรือบุคคลใดกระทำนิติกรรมในนามนิติบุคคลอาคารชุดกับบุคคลภายนอก

6. มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนด หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องขอมติจากเจ้าของร่วม

7. พิจารณาและมีอำนาจผ่อนผัน งด เบี้ยปรับหรือผ่อนผันการดำเนินมาตรการสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ

8. มีอำนาจพิจารณาชี้ขาดการกระทำการใดๆ ต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล อันจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างความมั่นคงการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคาร

คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

คณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ท่านแต่ไม่เกิน 9 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งโดยมีมติเสียงข้างมากของที่ประชุมใหญ่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 2ปี และเป็นต่อเนื่อง ไม่เกิน 2 วาระหรือเป็นไปตามมติเสียงข้างมากของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม

บุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ

1. เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม

2. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ในกรณีเจ้าของร่วมเป็นผู้เยาว์, คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

3. ผู้จัดการหรือผู้แทนในกรณีที่นิติบุคคล เป็นเจ้าของร่วม


หน้าที่ฝ่ายบริหารอาคารชุด

นิติบุคคลอาคารชุด มีการบริหารจัดการโดย บริษัท พรีโม่ พร็อพเพอร์ตี้โซลูชั่น จำกัด หรือ บริษัท คราวน์ เรสซิเด้นซ์ จำกัด ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด 2 ปี

แรกให้บริการแก่เจ้าของร่วมรวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลอาคารชุดในด้านต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย

1. งานด้านการเงิน

– ดูแลเก็บเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารญูปโภค ค่าบริการพิศษต่างๆ จากเจ้าของร่วม/ผู้พักอาศัยและออกใบเสร็จ

– ดูแลการเบิก-จ่าย เงินสดย่อยของอาคารชุด

– ดูแลจัดทำรายงานการออกบัตรอนุญาตจอดรถตามสิทธิ์ และการจำหน่ายบัตรอนุญาตจอดรถ ชั่วคราวรายเดือน

– การรับงินค้ำประกัน และการคืนงินค้ำประกันการตกแต่งห้องชุด

– จัดทำสรุปการใช้งบประมาณอาคารชุด

2. งานด้านธุรการ

– ดูแลรักษา จัดเก็บเอกสารสำคัญของนิติบุคคลอาคารชุด

– ดูแลจัดทำรายงานการออกบัตรคีย์การ์ด

– ควบคุมการขอเพิ่มคู่สายโทรศัพท์จากท่านเจ้าของร่วม/ผู้พักอาศัย

– จัดพิมพ์งานธุรการต่างๆ ของอาคารชุด

– ดูแลและเสนอการจัดซื้อ-จัดจ้างงานบริการ ตลอดจนการจัดทำนิติกรรมสัญญาต่างๆ

– ดูแล และดำเนินการส่งมอบสิทธิ์อันพึ่งได้ของเจ้าของร่วม เช่น บัตรคีย์การ์ด

– ควบคุมดูแลการเบิก จ่ายวัสดุสิ้นเปลืองและอุปกรณ์สำนักงาน

– ส่งจดหมาย, ใบแจ้งค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า, ค่าโทรศัพท์ให้แก่ท่านเจ้าของร่วม /ผู้พักอาศัย

3. ด้านสันทนาการ/กิจกรรม

– สรรหาอุปกรณ์สันทนาการ เช่น สระว่ายน้ำออกกำลังกาย

– สำรวจและตรวจอุปกรณ์สันทนาการ เพื่อพร้อมให้บริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

– ดำเนินการซ่อมแซม อุปกรณ์สันทนาการที่ชำรุดจากการใช้งาน

– ให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์สันทนาการแก่ท่านเจ้าของร่วม และกิจกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมี เช่น การซ้อมอพยพหนีไฟ

4. งานซ่อมบำรุงรักษา

– ตรวจเช็คระบบงานภายใน เช่น ระบบงานรักษาความปลอดภัย ระบบเตือนภัย ระบบไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

– ปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องจักรให้สามารถ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา

– ควบคุมการเปิด-ปิด พัฒนาระบบงานต่างๆ ภายในพื้นที่ส่วนกลาง

– ช่อมแซมทรัพย์สินของอาคารที่เกิดการชำรุดจากการใช้งาน

– ควบคุมการเข้าทำงานของผู้รับเหมาตกแต่งภายในขณะปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย

– คัดเลือก ติดต่อประสานงานกับบริษัทผู้รับเหมาที่จะเข้าดำเนินงานภายในอาคาร

– ช่วยเหลือแนะนำงานซ่อมแซมภายในห้องชุดในกรณีเร่งด่วน (เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น)

5. งานจัดจ้างบริการฝ่ายบริหารจัดการมีหน้าที่ว่าจ้างงานเฉพาะอย่างอันเป็นประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อส่วนรวม ได้แก่

– งานรักษาความปลอดภัย

– งานรักษาความสะอาด

– งานกำจัด ปลวก มด แมลง

– งานดูแลสวนและภูมิทัศน์

– งานดูแลรักษาลิฟท์และระบบต่างๆ

– งานบริการเคเบิ้ลทีวีและเครือง่ายอินเทอร์เน็ต

– งานบริการจัดเก็บขยะมูลฝอย


ห้องชุดเพื่อบริการเช่าพักอาศัย

เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยเจ้าของห้องชุดที่มีความประสงค์นำห้องชุดของท่านใช้สำหรับบริการให้เช่าพักอาศัย ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังนี้

1. เจ้าของห้องชุดมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้เช่าอาศัยตามสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของร่วมทุกประการ

2. ส่งสำเนาใบรับการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัยที่กองตรวจคนเข้าเมืองรับแจ้งเรียบร้อยแล้ว

3. ส่งเอกสารหลักฐานการเช่าห้องชุดเพื่อให้นิติบุคคลอาคารชุดฯ จัดทำทะเบียนผู้พักอาศัย ดังนี้

3.1 สำเนาสัญญาเช่าห้องชุด

3.2 สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง


การขอเอกสารหนังสือปลอดหนี้

เจ้าของห้องชุด (ผู้โอน) ที่มีความประสงค์ขายต่อหรือโอนห้องชุดให้แก่บุคคลอื่นต้องมีหนังสือยืนยันการไม่มีหนี้ค้างชำระกับนิติบุคคลอาคารชุด เช่น ค่าน้ำประปา, ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เพื่อใช้ประกอบการโอนห้องชุดต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจึงจะสามารถโอนห้องชุดแก่ผู้รับโอนได้ โดยมีขั้นตอนตอนการขอเอกสาร ดังนี้

1. กรอกแบบฟอร์มขอหนังสือปลอดหนี้ยื่นให้กับนิติบุคคล ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน พร้อมแนบเอกสารดังนี้

– สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของห้องชุด/ผู้รับโอน

– สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของห้องชุดผู้รับโอน

– สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด

– เอกสารจากการประมูลทั้งหมด (กรณีเป็นห้องที่ประมูลได้)

2. ชำระค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระกับทางนิติบุคคลอาคารชุด

3. หลังจากโอนเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้รับโอนนำสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดยื่นที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด

หมายเหตุ :

– หนังสือปลอดหนี้มีอายุ 7 วัน นับจากวันที่ระบุไว้ในเอกสาร

– นิติบุคคลฯ ขอสงวนสิทธิ์งดออกใบปลอดหนี้กรณีสัดส่วนผู้ถือครองต่างด้าวเต็มตามที่กฎหมายกำหนด

 

1. Drop to the floor ก้มหมอบลงกับพื้น

2. Take cover under the desk or table, or use your arms to protect your head หลบลงใต้โต๊ะหรือใช้แขนกำบังส่วนศีรษะ เพื่อป้องกันสิ่งของที่อาจหล่นในหัวท่าน

3. Do not use the elevators stay away from windows and exterior walls, do not evacuate until the shaking

stops

ห้ามใช้ลิฟต์โปรดหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กระจกหรือผนังภายนอกห้ามทำการอพยพจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุด

**DO NOT EVACUATE UNTIL THE SHAKING STOPS**

**ห้ามทำการอพยพจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุด**

1. Leave the object alone do not touch or move

ปล่อยวัตถุต้องสงสัยไว้ที่เดิม ห้ามเคลื่อนย้ายวัตถุต้องสงสัยนั้น

2. Immediately Notify The Management Team
แจ้งฝ่ายบริหารจัดการ ให้ทราบทันที

3. Leave the area & follow the instructions given by the management team

ออกจากพื้นที่บริวณดังกล่าวพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของฝ่ายบริหารจัดการ

**PLEASE STAY CALM**

**กรุณาอยู่ในความสงบ**

1. Go to the nearest fire exit stairway

 มุ่งหน้าไปบันไดหนีไฟที่ใกล้ที่สุดทันที

2. Check the closed door for heat before you open it

 หากต้องเปิดประตูที่ปิดอยู่ โปรดตรวจสอบโดยสัมผัสก่อนว่าประตูร้อนหรือไม่

3. If the door is hot, do not open it and find another exit

 หากสัมผัสแล้วพบว่าร้อน ห้ามเปิดประตูและหาทางออกอื่น

4. If the door is cool, open slowly and ensure that fire/ smoke are not blocking your escape route. If it blocked, close the door immediately and find another exit

 หากสัมผัสแล้วพบว่าเย็นให้เปิดประตูออกอย่างช้าๆ และสำรวจเส้นทางหนีไฟว่ามี เปลวไฟ/ควัน ปิดขวางหรือไม่ หากพบว่าทางถูกปิดขวาง ให้ปิดประตูทันที และหาทางออกอื่น

5. If the route is clear, leave immediately through the door and close it behind you. go to the nearest exit

 หากเส้นทางหนีไม่มีเปลวไฟ/ควันปิดขวาง ให้ออกจากพื้นที่นั้นทันทีและมุ่งหน้าไปยังทางหนีไฟที่ใกล้ที่สุด

6. If you find smoke on the way, please stay low or crawl

 หากเส้นทางที่จะไปยังทางหนีไฟมีควันปกคลุมให้กัมหรือหมอบคลานพื้นไป

7. Once you leave the building, do not re-enter until the situation is declared clear and safe

 เมื่อออกจากอาคารแล้ว ห้ามกลับเข้าอาคารอีกจนกว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย และปลอดภัย

**DO NOT USE THE ELEVATORS**

**ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด**

1. Leave the room immediately

 ให้ออกจากบริเวณดังกล่าวทันที

2. Shut the door

 ปิดประตูบริเวณดังกล่าว

3. Pull the alarm or contact the management office

 ดึงสัญญาณเตือนภัยหรือโทรแจ้งฝ่ายบริหารจัดการ

4. Leave the area and go to a safe place

 ออกจากบริเวณดังกล่าวไปยังบริเวณที่ปลอดภัย

**PLEASE STAY CALM**

**กรุณาอยู่ในความสงบ**